อาหารเสริม สารสกัดจากเมล็ดแฟลกซ์ ผสม สารสกัดจากมะขามป้อม และ สารสกัดจากขมิ้นชัน ชนิดแคปซูลแข็ง กิฟฟารีน ไบโอ แฟลกซ์ พลัส (60 แคปซูล)
Giffarine Bio Flax Plus : Dietary Supplement Flaxseed Extract Mixed with Gooseberry Extract and Turmeric Extract Hard Capsule Type (60 capsules)
คำตอบของวัยทอง ทางเลือกที่ปลอดภัย กว่าฮอร์โมนทดแทน
กิฟฟารีน ไบโอ แฟลกซ์ พลัส อาหารเสริม ผสมเมล็ดแฟลกซ์ สารสกัดจากมะขามป้อม และสารสกัดจากขมิ้นชัน มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เป็นแหล่งของกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ชื่อว่า กรดอัลฟาไลโนเลนิก (Alpha Linolenic Acid, ALA) และ สารลิกแนน (Lignan) มีคุณสมบัติเป็น ไฟโตรเอสโตเจน (Phytoestrogen) ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน เมื่อเข้าสู่ร่างกาย ช่วยรักษาสมดุลฮอร์โมน และลดอาการจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนในวัยทอง เป็นสารที่ได้จากพืชจึงมีความปลอดภัยต่อร่างกายสูง
อาการของผู้หญิงวัยทอง:
- มีอาการร้อนวูบวาบตามตัว
- อารมณ์หงุดหงิดและแปรปรวนได้ง่าย
- ความจำเสื่อมลง หลงลืมได้ง่าย
- มีความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายแรงหลายชนิด ได้แก่ กระดูกพรุน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอัลไซเมอร์และมะเร็งของลำไส้ใหญ่ โดยจะมีโอกาสเกิดโรคเพิ่มมากขึ้นเมื่อย่างเข้าสู่วัยทอง
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ สารสกัดจากธรรมชาติ เพื่อ ผู้หญิงวัยทอง
เมล็ดแฟลกซ์ คือ อะไร?
“ต้นแฟลกซ์ (Flax)” เป็น พืชตระกูล “Linaceae (เป็นครอบครัวของพืชออกดอก)” เป็น พืชที่สามารถนำ “ต้น” มันไปผลิตเป็นเส้นใย เส้นด้ายลินิน และผลิตภัณฑ์จำพวกสิ่งทอ นอกจากนั้นสำหรับ “เมล็ด” ของ ต้นแฟลกซ์ ยังมีคุณค่าทางโภชนาการสามารถนำมารับประทานได้
“เมล็ดแฟลกซ์ (Flax Seed)” เป็น เมล็ดพืชขนาดเล็กที่ได้จาก “ต้นแฟลกซ์ (Flax)” มีทั้งชนิดสีน้ำตาลและสีทอง เป็นธัญพืชที่หลายคนนิยมนำมารับประทานเนื่องจากอุดมไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ เช่น ใยอาหารและกรดไขมันจำเป็นที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งอาจมีส่วนช่วยเรื่องการทำงานของหัวใจและระบบย่อยอาหาร รวมทั้งช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ไฟโตเอสโตรเจน คืออะไร?
อธิบายง่ายๆ “ไฟโตรเอสโตเจน (Phytoestrogen) ” ก็คือ “สารสกัดจาก “เมล็ดแฟลกซ์ (Flax Seed)” นั่นเองครับ เรามาทำความรู้จัก กับ “ไฟโตรเอสโตเจน (Phytoestrogen) ” เพิ่มเติมกันดีกว่าครับ
“เมล็ดแฟลกซ์ (Flax Seed)” เป็นที่รู้จักในการเป็นแหล่งของกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ชื่อว่า “กรดอัลฟาไลโนเลนิก (Alpha Linolenic Acid, ALA)” และพฤษเคมีที่ชื่อว่า “ลิกแนน (Lignan)” ซึ่งมีคุณสมบัติเป็น “ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen)”
“ลิกแนน (Lignan)” ที่พบมากใน “เมล็ดแฟลกซ์ (Flax Seed)” คือ “ซีโคไอโซลาริซิเรซินอล ไดไกลโคไซด์ (Secoisolariciresinol Diglycoside, SDG)” ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็น “เอนเทอโรไดออล (Enterodiol)” และ “เอนเทอโรแลกโตน (Enterolactone)” โดยแบคทีเรียในลําไส้ใหญ่ของมนุษย์ ซึ่งสารทั้งสองนี้มีคุณสมบัติเป็น “ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen)”
ประโยชน์ของ ไฟโตรเอสโตเจน (Phytoestrogen)
คุณค่ามหัศจรรย์ ของ ไฟโตรเอสโตเจน (Phytoestrogen) จากเมล็ดแฟลกซ์ คุณค่าที่ปลอดภัยกว่าฮอร์โมนทดแทน
ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันโรค
“ลิกแนน (Lignan)” ที่พบใน “เมล็ดแฟลกซ์ (Flax Seed)” มีคุณสมบัติ ในการต้านอนุมูลอิสระซึ่งมีความข้องเกี่ยวกับการลดระดับ โคเลสเตอรอล (Cholesterol) ในเลือดลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและเบาหวาน
ปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง
ฮอร์โมนเอสโตรเจน คืออะไร?
“ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen)” คือ ฮอร์โมนเพศหญิงที่สำคัญ ทำหน้าที่ควบคุมระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง ผลิตจากรังไข่เป็นส่วนใหญ่ และมีส่วนน้อยที่ผลิตจากต่อมหมวกไตและเซลล์ไขมัน โดยจะมีผลต่อการเจริญเติบโตทางเพศ ลักษณะของเพศหญิงต่างๆ การมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ และการหมดประจำเดือน
คุณสมบัติ ของ ฮอร์โมนเอสโตรเจน คือ อะไร?
ฮอร์โมนเอสโตรเจนมีหน้าที่ในการควบคุมการมีประจำเดือนและการหมดประจำเดือนของเพศหญิงและยังดูแลเรื่องระบบของอวัยวะต่างๆในร่างกายอีกด้วย
- ระบบหัวใจและหลอดเลือด ควบคุมการผลิตคอเลสเตอรอล ทั้ง คอเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL) และเพิ่มระดับของคอเลสเตรอลที่ดี (HDL)
- ระบบกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อต่อ นอกจากนี้ยังช่วยในการรักษาคอลลาเจนเพื่อคงความยืดหยุ่นให้กับผิว ซึ่งฮอร์โมนนี้จะเริ่มมีปริมาณลดลงตั้งแต่ช่วงอายุ 30 ปีเป็นต้นไป และอีกหน้าที่ของฮอร์โมนเอสโตรเจนก็คือการกำจัดอนุมูลอิสระ (Free Radical) ทำให้ผิวของเรานั้นไม่เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นก่อนวัยอันควร
- ระบบประสาทและสมอง ช่วยเรื่องความทรงจำ รักษาสมดุลทางด้านอารมณ์และจิตใจ
“ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen)” เป็น ฮอร์โมนที่มีประโยชน์ต่อกระบวนการสร้างกระดูก ระบบการทํางานของหัวใจ สมอง และสุขภาพผิว แต่ก็ก่อให้เกิดโทษในเนื้อเยื่อ เต้านม และเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrium) ซึ่งทําให้เกิดความเสี่ยงในการเป็น มะเร็งเต้านม และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
“ลิกแนน (Lignan)” จาก “เมล็ดแฟลกซ์ (Flax Seed)” มีคุณสมบัติ เป็น “ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen)” ซึ่งสามารถแสดงคุณสมบัติทั้งเสริมและต้าน “ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen)” ได้ตามสภาพความเหมาะสมของร่างกาย จึงไม่กระตุ้นความเสี่ยงต่อการเกิด มะเร็งเต้านม และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
มีส่วนช่วยในการควบคุมนํ้าหนัก
“ลิกแนน (Lignan)” จาก “เมล็ดแฟลกซ์ (Flax Seed)” มีผลต่อการแสดงออกของ “ยีน (คือ รหัสพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด)” ที่จะไปลดการสะสมไขมันในเนื้อเยื่อในหนูทดลองที่ให้กินอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง และยังมีการศึกษาในประเทศแคนาดาพบว่าผู้หญิงที่มีระดับเอนเทอโรแลกโตนสูงจากการบริโภคลิกแนนจะมีดัชนีมวลร่างกาย (BMI) และมวลไขมันต่ํากว่าผู้หญิงที่มีระดับ เอนเทอโรแลกโตนต่ํา และ ยังมีส่วนช่วยลดระดับนํ้าตาล ในเลือดอีกด้วย
ป้องกัน และ ต้านมะเร็งเต้านม
สาเหตุหนึ่งของมะเร็งเต้านม จะเกิดจากการที่มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป หรือเซลล์ในเนื้อเยื่อเต้านม มีความไวต่อฮอร์โมนมากไป ทําให้เนื้อเต้านมที่มีความไวต่อฮอร์โมนนี้เกิดการแบ่งตัว และเพิ่มจํานวนผิดปกติจนกลายเป็นเนื้องอก และก่อให้เกิดมะเร็ง
มีการศึกษาที่พบว่าเมล็ดแฟลกซ์, เอนเทอโรไดออล และเอนเทอโรแลกโตนจะไม่แสดงคุณสมบัติของเอสโตรเจนในผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านมแต่จะแสดงคุณสมบัติในการต้านฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งจะไปลดการเพิ่มจํานวนของเซลล์เนื้องอกและเพิ่มการตายของเซลล์มะเร็ง
โดยพบว่า ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมที่รับประทานเมล็กแฟลกซ์เสริม จะมีการโตของเนื้องอกน้อยลง และมีการตายของเซลล์มะเร็งเพิ่มขึ้น ในประเทศแคนาดามีการศึกษาพบว่า การบริโภคเมล็ดแฟลกซ์ สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมได้ ซึ่งผล จากการศึกษานี้ทําให้เห็นแนวทางในการป้องกันอุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งเต้านม
บรรเทาอาการวัยทอง
มีการศึกษาใน ผู้หญิงวัยทองที่เป็นโรคเบาหวาน เพื่อจะดูถึงประสิทธิภาพในการลดดัชนีมวลกายและระดับน้ําตาลในเลือดของการรับประทานเมล็ดแฟลกซ์ ซึ่งผลปรากฏว่านอกจากดัชนีมวลกายและระดับน้ําตาลจะลดลงแล้ว อาการวัยทองซึ่งได้แก่ ร้อนวูบวาบ ภาวะซึมเศร้านอนไม่หลับ เหงื่อออกตอนกลางคืนและความรู้สึกปวดแสบปวดร้อน ก็บรรเทาลงด้วย
ป้องกันการสูญเสียมวลกระดูก
มีการศึกษาในหนูทดลองพบว่า ลิกแนนจากแฟลกซ์สามารถป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกเนื่องจากภาวะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนได้
คุณค่ามหัศจรรย์ จาก ขมิ้นชัน และ มะขามป้อม
มะขามป้อม
เป็นผลไม้ที่มีวิตามินสูงและมีคุณค่าทางสมุนไพร มีสารแทนนินซึ่งมีฤทธิ์ ในการต้านออกซิเดชัน ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการสร้างเมลานิน และสามารถ ยับยั้งการทํางานของเอนไซม์ไทโรซิเนส นอกจากนี้ยังพบว่า สารสกัดของ มะขามป้อมมีฤทธิ์ลดไขมันในเลือด ต้านมะเร็ง ต้านไวรัส ลดการอักเสบ และเพิ่มภูมิคุ้มกันได้อีกด้วย
มะขามป้อม กับ มะเร็ง
มีการศึกษามากว่า 2 ทศวรรษ ยืนยันว่ามะขามป้อมมีคุณสมบัติในการ ป้องกันและต้านมะเร็งได้หลายชนิด โดยพบว่ามะขามป้อมเป็นสมุนไพร ต้านมะเร็งที่ไม่มีความเป็นพิษเหมือนยารักษามะเร็งทั่วไป และยังพบว่า มะขามป้อมช่วยลดความเป็นพิษของยารักษาโรคมะเร็งอีกด้วยเมื่อใช้ร่วมกัน ดังนี้
- กระตุ้นการตายของเซลล์มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม มะเร็งลําไส้ในหลอดทดลอง
- ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งเต้านมในหลอดทดลอง
- ลดการกระตุ้นของสารก่อเนื้องอกในตับของหนูทดลอง และลดการกระตุ้น
ของสารก่อมะเร็งในหนูทดลอง - ยับยั้งการกลายพันธุ์ของดีเอ็นเอของสัตว์ทดลอง
- ลดความเป็นพิษของยารักษาโรคมะเร็งไซโคลฟอสฟาไมด์ (Cyclophosphamide) ในสัตว์ทดลอง
วัยทอง กับ มะขามป้อม
มีการศึกษาในหนูทดลองที่ตัดรังไข่พบว่าการได้รับ สารสกัดจากมะขามป้อมสามารถช่วยลดโคเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) และเพิ่มโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) และลดภาวะการดื้ออินซูลิน รวมทั้งยังมีการศึกษา ในหนูทดลองที่ตัดรังไข่พบว่าป้องกันตับอักเสบ เนื่องจากภาวะไขมันพอกตับได้ จากทั้ง 2 การศึกษานี้จึงสรุปได้ว่า มะขามป้อมน่าจะส่งผลดีต่อสุขภาพและมีประโยชน์ในการป้องกันโรคของผู้หญิงวัยหมดประจําเดือนได้
ประโยชน์ของมะขามป้อม
- ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
- ลดโคเลสเตอรอลชนิด LDL และเพิ่มโคเลสเตอรอลชนิด HDL
- ลดภาวะดื้ออินซูลิน
- ป้องกันภาวะตับอักเสบเนื่องจากภาวะไขมันพอกตับได้
ขมิ้นชัน
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ขมิ้นชัน
เหง้าขมิ้นชัน มี สารประกอบที่สําคัญเป็นน้ํามันหอมระเหย และ ในเหง้า ยังมีสารสีเหลืองส้มที่เรียกว่า เคอร์คูมิน มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส ต้านอนุมูลอิสระ ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมี คุณสมบัติเด่นในเรื่องการต้านอักเสบ โดยมีงานวิจัยที่พบว่าสารสกัดจากขมิ้น มีคุณสมบัติในการต้านอักเสบได้ดีกว่ายาสเตียรอยด์ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติ ในการต้านการเจริญของเนื้องอก จึงนิยมใช้ในการต้านโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง และโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารได้อีกด้วย
ขมิ้นชัน กับ การต้านมะเร็ง
จากการศึกษาทั้งในสัตว์ทดลองและมนุษย์ได้แสดงให้เห็นว่า ขมิ้นชันมีคุณสมบัติในการป้องกัน และต้าน มะเร็งหลายชนิด ได้แก่ มะเร็งเม็ดเลือดขาว ลําไส้ใหญ่และทวารหนัก ตับอ่อน เต้านม ต่อมลูกหมาก ปอด ศีรษะ และคอ ขมิ้นชันกับวัยทอง มีการศึกษาผลของการได้รับสารสกัดจากขมิ้นชันในผู้หญิงวัยทอง
ขมิ้นชัน กับ วัยทอง
มีการศึกษาผลของการได้รับสารสกัดจากขมิ้นชันในผู้หญิงวัยทองพบว่า ผู้ที่ได้รับสารสกัดขมิ้นชันมีการทํางาน ของเยื่อบุผนังหลอดเลือดดีขึ้น ซึ่งอาจจะมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจในผู้หญิงวัยทอง นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พบว่า ขมิ้นชันป้องกันการเสียมวลกระดูกในหนูทดลองที่ถูกตัดรังไข่ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในการป้องกันภาวะกระดูกพรุนในผู้หญิงวัยทอง
ประโยชน์ของขมิ้นชัน
- ป้องกันมะเร็งได้หลายชนิด ได้แก่ มะเร็งเม็ดเลือดขาว, ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, ตับอ่อน, เต้านม, ต่อมลูกหมาก, ปอด
- ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจในผู้หญิงวัยทอง
- ป้องกันภาวะกระดูกพรุนในผู้หญิงวัยทอง
สารสกัดจากเมล็ดแฟลกซ์ร่วมกับสารสกัดจากขมิ้นชันและมะขามป้อมจะให้ผล:
- เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และต้านอักเสบที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยดูแลสุขภาพโดยรวม ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ เบาหวานและความดันโลหิตสูง
- ยับยั้งการสร้างเมลานิน บำรุงผิวพรรณให้ผิวกระจ่างใส
- ชะลอการเติบโตของเนื้องอกและยับยั้งเซลล์มะเร็งเต้านม มดลูก และ รังไข่ ป้องกันการเกิดมะเร็ง ต่อมลูกหมาก และมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อีกด้วย
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสารสกัดจากเมล็ดแฟลกซ์ ขมิ้นชันและมะขามป้อม เหมาะกับ:
- ผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป
- ผู้หญิงที่เริ่มเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน วัยทอง
- ผู้หญิงที่ต้องการป้องกันมะเร็งมดลูก, รังไข่ และเต้านม
- ผู้ที่มีปัญหาสิว หรือผมร่วง จากความมันอันเนื่องมาจากการมีฮอร์โมนเพศชายสูงเกินไป
กิฟฟารีน ไบโอ แฟลกซ์ พลัส
รับประทานครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง พร้อมอาหาร
- สารสกัดจากเมล็ดแฟลกซ์ 125 มก.
- สารสกัดจากมะขามป้อม 30 มก.
- สารสกัดจากขมิ้น 15 มก.
เอกสารอ้างอิง
- Jungeström, M. B., Thompson, L. U., & Dabrosin, C. (2007). Flaxseed and its lignans inhibit estradiol-induced growth, angiogenesis, and secretion of vascular endothelial growth factor in human breast cancer xenografts in vivo. Clinical Cancer Research, 13(3), 1061-1067.
- Lowcock, E. C., Cotterchio, M., & Boucher, B. A. (2013). Consumption of flaxseed, a rich source of lignans, is associated with reduced breast cancer risk. Cancer Causes & Control, 24(4), 813-816.
- Gruber, C. J., Tschugguel, W., Schneeberger, C., & Huber, J. C. (2002). Production and actions of estrogens. New England Journal of Medicine, 346(5), 340-352.
- Morisset, A. S., Lemieux, S., Veilleux, A., Bergeron, J., John Weisnagel, S., & Tchemof, A. (2009). Impact of a lignan-rich diet on adiposity and insulin sensitivity in post-menopausal women. British Journal of nutrition, 102(02), 195-200.
- Kapoor, S., Sachdeva, R., & Kochhar, A. (2011). Effect of Flaxseed Supplementation on body mass Index and Blood Glucose Levels of Menopausal Diabetic Females. Journal of Research, 48(1and2), 77-83.
- Nahla, E., Thabet, H. A., & Ahmed, H. (2013). The effect of supplementation with flaxseed and its extract on bone health. Nature & Science, 11(5).
- Singh, Ekta, et al. (2011). Phytochemistry, traditional uses and cancer chemopreventive activity of Amla (Phyllanthus emblica): the sustainer, Journal of Applied Pharmaceutical Science, 2.1: 176-183.
- Baliga, Manjeshwar Shrinath, and Jason Jerome Dsouza. (2011). Amla (Emblica officinalis Gaertn), a wonder berry in the treatment and prevention of cancer. European Joumal of Cancer Prevention, 20.3: 225-239
- Koshy, Smitha M., et al. (2012). Amia (Emblica officinalis) extract is effective in preventing high fructose diet-induced insulin resistance and atherogenic dyslipidemic profile in ovariectomized female albino rats. Menopause, 19.10: 1146-1155.
- Koshy, S. M., et al. (2015). Amla prevents fructose-induced hepatic steatosis in ovariectomized rats: role of liver FXR and LXRⱭ. Climacteric, 18.2: 299-310.
- Lopresti, Adrian L., et al. (2014). Curcumin for the treatment of major depression: a randomised, double-blind, placebo controlled study. Journal of affective disorders. 167: 368-375.
- Dulbecco, Pietro, and Vincenzo Savarino. (2013).Therapeutic potential of curcumin in digestive diseases. World journal of gastroenterology, 19.48: 9256.
- Devassy, Jessay G., Ifeanyi D. Nwachukwu, and Peter JH Jones. (2015). Curcumin and cancer: barriers to obtaining a health claim. Nutrition Reviews, nuu064.
เรียบเรียงและจัดทำโดย Sirikul Shop
รหัสสินค้า : 82021
เลขที่จดแจ้งผลิตภัณฑ์ : 13-1-03337-1-0174
ขนาด กxยxส : 5.5×9.64
น้ำหนัก/กิโลกรัม : 0.07
กิฟฟารีน ไบโอ แฟลกซ์ พลัส (60 แคปซูล)
ส่วนประกอบใน 1 แคปซูล: |
สารสกัดจากเมล็ดแฟลกซ์ 125 มก. สารสกัดจากมะขามป้อม 30 มก. สารสกัดจากขมิ้น 15 มก. |
วิธีรับประทาน: รับประทานครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง พร้อมอาหาร |
คำเตือน: อ่านคำเตือนในฉลากก่อนบริโภค ไม่มีผลในการป้องกันหรือรักษาโรค
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์