, , ,

เครื่องดื่ม กลูตาไธโอน ผสม น้ำขมิ้น 10 % วิตามิน ซี และ วิตามิน อี กิฟฟารีน กลูต้าเคอร์คิวมา ซี-อี (6 ขวด)

562฿

นวัตกรรมใหม่ เพื่อผิวขาวอมชมพู กระจ่างใสยิ่งกว่า

“ขวดนี้ ไม่เหมือนใคร” ใหม่… กิฟฟารีน กลูต้าเคอร์คิวมา ซี-อี มีกลูต้าไธโอนที่ผ่านกรรมวิธีออกซิไดซ์ ถึง 250 มก. พร้อม วิตามินซี และ อี ในนํ้ารส ขมิ้น 10% หอม อร่อย ดื่มง่าย กลูตาไธโอน (Glutathione) สารอาหารที่ช่วยดูแลผิวพรรณ เป็นสารประกอบที่พบโดยทั่วไปในร่างกายของมนุษย์ ประกอบก้วยกรดอะมิโน 3 ชนิดคือ กลูตามีน (Glutamine),ซีสเทอีน (Cysteine) และไกลซีน(Glycine)

Availability: มีสินค้าอยู่ 20

เครื่องดื่ม กลูตาไธโอน ผสม น้ำขมิ้น 10 % วิตามิน ซี และ วิตามิน อี กิฟฟารีน กลูต้าเคอร์คิวมา ซี-อี (6 ขวด)

Giffarine Gluta Curcuma C-E : Glutathione Drink Mixed with 10% Turmeric Juice Vitamin C and Vitamin E (6 bottles)

นวัตกรรมใหม่ เพื่อผิวขาวอมชมพู กระจ่างใสยิ่งกว่า

“ขวดนี้ ไม่เหมือนใคร” ใหม่… กิฟฟารีน กลูต้าเคอร์คิวมา ซี-อี มีกลูต้าไธโอนที่ผ่านกรรมวิธีออกซิไดซ์ ถึง 250 มก. พร้อม วิตามินซี และ อี ในนํ้ารส ขมิ้น 10% หอม อร่อย ดื่มง่าย กลูตาไธโอน (Glutathione) สารอาหารที่ช่วยดูแลผิวพรรณ เป็นสารประกอบที่พบโดยทั่วไปในร่างกายของมนุษย์ ประกอบก้วยกรดอะมิโน 3 ชนิดคือ กลูตามีน (Glutamine),ซีสเทอีน (Cysteine) และไกลซีน(Glycine)

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่มี…ปัญหา
  • ผิวคล้ำเสีย 
  • ผิวหมองคล้ำ ไม่กระจ่างใส
  • ผิวซีด เหมือนคนอมโรค
  • ผิวไม่มีออร่า ดูไม่มีราศี
  • อยากมีผิวขาวอมชมพู

เรื่องน่ารู้ของ กลูตาไธโอน ขมิ้น และวิตามินซี, อี ด้วยคุณประโยชน์ เพื่อผิวพรรณ

กลูต้าไธโอน คือ อะไร?

“กลูตาไธโอน (Glutathione)” จัดเป็น สารประเภท “ไตรเปปไทด์ (Tripeptide)” ซึ่งประกอบด้วย กรดอะมิโน 3 ชนิด คือ “กลูตาเมต (Glutamine)” “ซีสเตอิน (Cysteine)” และ “ไกลซีน (Glycine)” ที่ร่างกายสามารถ สร้างขึ้นเองได้ แต่มีปริมาณน้อยอาจไม่เพียงพอในการนําไปสร้างสารต้านอนุมูลอิสระเพื่อป้องกันการเสื่อมต่างๆ ของเซลล์ในร่างกาย

โดยเฉพาะที่ “ตับ” สาร  “กลูตาไธโอน (Glutathione)” มีบทบาทสำคัญในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยปกป้องเซลล์มิให้ถูกทำลายจากอนุมูลอิสระ ในร่างกายเราตามธรรมชาติจะมีกลูต้าไธโอนอยู่ 2 ประเภท คือ “รีดิวซ์ กลูต้าไธโอน (Reduced Glutathione)” และ “ออกซิไดซ์ กลูต้าไธโอน (Oxidized Glutathione)”

“ออกซิไดซ์ กลูต้าไธโอน” เหนือกว่า “รีดิวซ์ กลูต้าไธโอน” อย่างไร

ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ในท้องตลาดมากมาย และมีจำนวนไม่น้อยที่มีส่วนผสมของ “รีดิวซ์ กลูต้าไธโอน (Reduced Glutathione)” ซึ่งกลูต้าไธโอนชนิดนี้ไม่คงตัวในน้ำและอุณหภูมิที่สูงขึ้น

นั่นคือ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเคมี และเกิดแก๊ส “ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen Sulfide)” หรือ ที่รู้จักกันในนาม “แก๊สไข่เน่า” ซึ่งทำให้เครื่องดื่มมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ และกลิ่นนี้จะติดทนนานเป็นชั่วโมงหลังจากการดื่ม

ดังนั้นการใช้ “ออกซิไดซ์ กลูต้าไธโอน (Oxidized Glutathione)” ซึ่งมีความคงตัวสูงในน้ำและอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น แต่มีราคาที่สูงกว่า อันเนื่องมาจากกระบวนการผลิตที่ยุ่งยากซับซ้อนกว่า จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาความไม่คงตัวของ “รีดิวซ์ กลูต้าไธโอน (Reduced Glutathione)”

กลไกยับยั้งการสร้าง เม็ดสีผิว ของ กลูต้าไธโอน

“เม็ดสีผิว” หรือ “เมลานิน (Melanin)” ถูกสังเคราะห์ขึ้นในเซลล์ “เมลาโนไซต์ (Melanocyte)”ที่อยู่ในผิวชั้น “เอพิเดอร์มิส (Epidermis)” หรือ “ชั้นหนังกำพร้า”

“เมลานิน (Melanin)” ที่ผิวมีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ “ยูเมลานิน (Eumelanin)” เป็นเม็ดสีผิวชนิดดำ/น้ำตาล และ “ฟีโอเมลานิน (Pheomelanin)” เป็นเม็ดสีผิวชนิดขาว/ชมพู สัดส่วนของเมลานินทั้งสองชนิดนี้เป็นตัวกำหนดสีผิวของเรา โดยคนเอเชียส่วนใหญ่จะมีปริมาณยูเมลานินมากกว่า จึงมีผิวที่คล้ำกว่าและชมพูน้อยกว่าคนในแถบทวีปยุโรปหรืออมริกานั่นเอง

กลูต้าไธโอน ทำให้ผิวขาว อมชมพู จริงหรือไม่?

การรับประทานกลูตาไธโอนสามารถดูดซึมผ่านผนังลําไส้เล็กได้ แต่ส่วนที่อยู่ในทางเดินอาหารส่วนอื่นจะถูกย่อยสลายได้ แต่ส่วนที่อยู่ในทางเดินอาหารส่วนอื่นจะถูกย่อยสลายได้เป็นกรดอะมิโนต่าง ๆ คือ กลูตามีน ซีสเทอีน และไกลซีน ซึ่งสามารถนํามาสร้างเป็นกลูตาไธโอนได้ใหม่ภายในเซลล์

กลูตาไธโอน ช่วยให้ผิวขาวกระจ่างใส เนื่องจากมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ “การสร้างเม็ดสีเมลานินของผิวหนัง” ที่ถูกสร้างขึ้นในหนังกําพร้าชั้นล่างสุด โดยถ้าร่างกายมี กลูตาไธโอนก็จะสามารถยับยั้ง การทํางานของเอนไซม์ “ไทโรซิเนส (Tyrosinase)” ซึ่ง มีหน้าที่ในการผลิตเมลานินและทําให้ผิวมีสีคล้ํา เพราะเมื่อเอนไซม์ “ไทโรซิเนส (Tyrosinase)” ถูก ยับยั้งก็จะทําให้มีการสร้าง “ฟีโอเมลานิน (Pheomelanin)”

กลไกการยับยั้งเม็ดสีผิวของ “กลูตาไธโอน (Glutathione)” จะเห็นได้ว่าเมื่อ “กลูตาไธโอน (Glutathione)” ยับยั้งแนวทางการผลิต “ยูเมลานิน (Eumelanin)” กลไกการสร้างเม็ดสีผิวก็จะเปลี่ยนทางมาผลิต “ฟีโอเมลานิน (Pheomelanin)” ซึ่งเป็นเม็ดสีขาว/ชมพูมากขึ้น ผิวจึงกระจ่างใสอมชมพู แลดูสุขภาพดี

คุณสมบัติของ กลูตาไธโอน ต่อผิว
  1. ยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานิน ทําให้ผิว ขาวขึ้น จุดด่างดําลดลง
  2. เป็นแอนติออกซิแดนท์ (สารต้านอนุมูล อิสระ) ช่วยลดรอยเหี่ยวย่นและทําให้ ผิวเรียบเนียนใส นอกจากนี้ กลูตาไธโอน จะสามารถทํางานได้ดีเมื่อมีวิตามินซี และวิตามินอีร่วมด้วย
ประโยชน์ของ กลูตาไธโอน (Glutathione)
  1. เป็น สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidation) จะถูกเปลี่ยนไปเป็นเอนไซม์ Glutathione Peroxidase มีคุณสมบัติเป็นสาร Antioxidant ที่สำคัญของร่างกาย ช่วยลดความเสื่อมของเซลล์ต่างๆในร่างกาย
  2. ช่วยในการกำจัดสารพิษ (Detoxitication) ช่วยสร้างเอนไซม์ชนิดต่างๆในร่างกาย โดยเฉพาะ Glutathione-S-transferase ที่ตับ ช่วยในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกายโดยไปเปลี่ยนสารพิษ ชนิดไม่ละลายน้ำ(ละลายในน้ำมัน)
  3. ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน (Immune Enhancer) จะส่งผลในการเพิ่มความสามารถในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรคของเม็ดเลือดขาว ชนิด Neutrophils และยังเพิ่มความสามารถในการทำงานของ เซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิต้านทานของร่างกายด้วยทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันเพิ่มมากขึ้น
  4. ช่วยบำรุงผิวและทำให้ผิวขาวขี้น (Beauty and Whitening) รังสี UV-A และ UV-B ในแสงแดดเป็นตัวกระตุ้นการสร้างเม็ดสีเมลานินและอนุมูลอิสระ ทำลายเซลล์ผิว ทำให้ผิวหมองคล้ำ เกิดจุดด่างดำและเกิดฝ้า L-Glutathione (แอล กลูต้าไธโอน) มีคุณสมบัติช่วยในการต่อต้านกลไกของอนุมูลอิสระ ที่ทำให้เกิด Lipid peroxide ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดฝ้า นอกจากนี้ Glutathione (กลูต้าไทโอน) ยังไปยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ Tyrosenase ส่งผลให้เม็ดสีเมลานินไม่ถูกสร้างขึ้น ทำให้ผิวค่อยๆขาวขึ้น
  5. ข่วยเรื่องภาวะเจริญพันธุ์ในเพศชาย (Male Fertit ทำให้ Sperm เคลื่อนที่ได้และลดอัตราการตายของ Sperm ด้วย

อาหารผิว … ไม่ใช่แค่ กลูต้าไธโอน

อยากผิวสวยแบบเบ็ดเสร็จ … ฟังทางนี้ นอกจากการรับประทาน “กลูต้าไธโอน” ที่ช่วยยับยั้งการสร้างเม็ดสีผิวและให้ผิวสวยกระจ่างใสขึ้นแล้ว การรับประทานอาหารผิวอื่นๆก็สำคัญเช่นกัน เช่น “วิตามินซี” ที่นอกจากจะเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดีแล้ว ยังช่วยทำให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น ผิวจึงได้รับสารอาหารและออกซิเจนมากขึ้น

  • และยังมีงานวิจัยที่พบว่า “วิตามินซี” มีส่วนช่วยในการทำงานของ “กลูต้าไธโอน” อีกด้วย
  • “วิตามีนอี” ก็เป็นอาหารผิวอีกชนิดหนึ่ง ที่เป็นที่รู้จักกันดีว่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและทำให้ผิวนุ่มชุ่มชื้น
  • นอกจากนี้ “เคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoids)” สารสกัดจาก “ขมิ้น” ก็เป็นสารที่นิยมนำมาใช้บำรุงผิวกันอย่างแพร่หลาย เพราะมีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบของผิวหนัง ต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อราและแบคทีเรีย ซึ่งเป็นที่มาของของโรคผิวหนังชนิดต่างๆได้ดีอีกด้วย

ขมิ้น (Turmeric)

“ขมิ้น (Turmeric)” ชื่อ “ขมิ้น” ในประเทศไทยเรียกตามภาษา ท้องถิ่นมีหลายชื่อคือ ขมิ้นแกง (เชียงใหม่) ขมิ้นชัน (กลาง, ใต้) ขมิ้นหยอก, ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้นและหมิ่น (ตรัง, ใต้) ตายอ (กะเหรี่ยง, กําแพงเพชร) สะยอ (กะเหรี่ยง, แม่ฮ่องสอน)

ประวัติความเป็นมา ของ ขมิ้น

ประวัติความเป็นมา แหล่งกําเนิดที่แน่นอนของขมิ้นไม่เป็นที่รู้จักแต่พบมากในเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนใหญ่มาจากภาคตะวันตกของอินเดีย ขมิ้นเป็น พืชล้มลุก อยู่กลุ่มพืชจําพวกขิง มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อเหง้ามีสีเหลืองอมส้ม หรือสีแสดออกแดง มีกลิ่นหอม และไม่มีเมล็ดพันธุ์ การขยายพันธุ์ใช้การแตกหน่อ

โดย จะทําการเลือกจากลูกผสมระหว่างขมิ้นป่า (Curcuma aromatica) พื้นเมืองอินเดีย ศรีลังกา และเทือกเขา หิมาลัยตะวันออกและบางสายพันธุ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด

ขมิ้นมีการปลูกในอินเดียมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นที่ รู้จักในประเทศจีนเมื่อประมาณ 700 ปี แอฟริกาตะวันออก 800 ปี และแอฟริกาตะวันตก 1,200 ปี ปัจจุบันมีการปลูก ขมิ้นกันอย่างแพร่หลายในแถบประเทศเขตร้อนชื้น

สรรพคุณ ของ ขมิ้น

“ขมิ้น” มีสรรพคุณทางยามาตั้งแต่อดีต ก่อนคริสต์ศักราช 250 ปี จากบันทึกการใช้ยาในเอเชียใต้ อ้างใน Treatises ภาษาสันสกฤตในทางการแพทย์ และใช้กันอย่างแพร่หลาย ในยาอายุรเวท และ Unani อายุรเวท Susruta ของเคท ในประเทศอินเดีย มีการบันทึกถึงการนําครีมที่มีขมิ้นเพื่อ รักษาอาการของคนถูกที่วางยาพิษ แก้การอักเสบของแผล ที่ผิวหนัง และบํารุงผิวพรรรณสําหรับผู้หญิง

สําหรับ ศาสนาฮินดู ในพิธีแต่งงานเจ้าสาวจะถูขมิ้นตามร่างกาย ของพวกเขา และกับทารกแรกเกิด โดยลูบบริเวณหน้าผาก ของพวกเขา เพื่อให้ผิวพรรณดูผ่องใส และแวววาวดูมีราศี ปราศจากสิ่งชั่วร้าย

เหมือนในประเพณีไทย ที่ผู้ชายที่กําลัง บวชเป็นพระ จะใช้ขมิ้นในการขัดผิวในขั้นตอนการบวชนาค และพบว่าชนชั้นสูงในประเทศอินเดีย นําชิ้นส่วนของเหง้า ขมิ้นแช่ลงไปในน้ําเพื่อใช้ในการอาบน้ํา

ยังมีรายงานว่า “ขมิ้น” จะช่วยปรับโทนสีผิว หรือช่วยให้ผิวเนียน สว่างใส ผู้หญิงในแถบเอเชียจึงรู้ถึงสรรพคุณของขมิ้นเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังนิยมนําไปประกอบอาหาร เพื่อป้องกันโรค ทางเดินอาหาร และเสริมสร้างสุขภาพผิวพรรณ ทั้งยังป้องกันโรคมะเร็ง โดยจะพบว่าคนแถบตะวันออก โดยเฉพาะ คนเอเชียจะมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งน้อยกว่าคนแถบตะวันตก

“เหง้าขมิ้นชัน” ประกอบด้วยสารสําคัญ ประเภทเคอร์คูมินอยด์ เป็นสารสีเหลือง ประกอบด้วยเคอร์คูมิน เดสเมทอกซี เคอร์คูมิน และบิสเดส เมทอกซีเคอร์ คูมิน และน้ํามันหอมระเหย มีสีเหลือง อ่อน มีสารสําคัญคือ เทอร์เมอโรน และ ซึ่งจีเบอรีน นอกจากนี้ยังมีสารกลุ่ม เซสควิเทอร์ปีน และโมโนเทอร์ปีน อื่นๆ

“ขมิ้นชัน” ที่ดีต้องมีปริมาณ น้ํามันหอมระเหยจําพวกเคอร์คูมินอยด์ คํานวณเป็น เคอร์คูมินไม่น้อยกว่า 5% โดยน้ําหนัก และ 6% โดยปริมาตรต่อน้ําหนักตามลําดับตามมาตรฐานของตํารับยาสมุนไพรของประเทศไทย หรือไม่น้อยกว่า 3% และ 4% ตามลําดับตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก

ประโยชน์ของ ขมิ้น

การศึกษาในสัตว์ทดลองหรือในหลอดทดลองพบว่า สารสกัดหรือสารสาคัญ ของขมิ้นชันมีฤทธิ์ทางยาที่สําคัญ พอสรุปได้ดังนี้

  1. ฤทธิ์ลดการอักเสบผิวหนัง
  2. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและ Antioxidant activity ของสารกลุ่มเคอร์คูมินอยด์
  3. ฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์และต้านการ เกิดมะเร็งจากการได้รับสารก่อมะเร็ง ที่กระตุ้นให้เกิดมะเร็งในอวัยวะต่างๆ
  4. ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย
  5. ฤทธิ์ต้านเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคกลาก

วิตามินซี (Vitamin C)

“วิตามินซี” มีความสําคัญ ต่อกระดูก เยื่ออ่อนและผิวหนัง กล่าวคือ วิตามินซีจะช่วยร่างกายในการผลิตและรักษาระดับของสาร “คอลลาเจน (Collagen)” ซึ่งเป็น “โปรตีน” ที่ใช้ในการสร้างกระดูกและฟัน เส้นเอ็น และผิวหนัง ที่กระจายอยู่ทั่วไปในโครงสร้างของร่างกาย

วิตามินซี กับ ความสวย ความงาม

“วิตามินซี” สามารถป้องกันอันตรายจากแสงยูวี หากเราทา “วิตามินซี” ก่อนออกแดดจะสามารถลดปัญหาผิวไหม้ บรรเทาอาการ อักเสบของผิวเมื่อถูกแสงแดด และพบว่า เมื่อทาร่วมกับ “วิตามินอี” และ “ครีมกันแดด” ที่มี “Oxybenzone” ก็จะสามารถป้องกันอันตราย จากแสงแดดได้ดีขึ้น ทั้งยังมีฤทธิ์ต้านการ เกิด “ออกซิเดชั่น (Antioxidant)” ช่วยกําจัด อนุมูลอิสระที่เกิดจากความชราของผิวหนังได้เป็นอย่างดี

โดยมีการทดลองทาวิตามินซี ที่ใบหน้าเป็นเวลา 3 เดือน พบว่าทําให้เส้นริ้วรอยบางๆ จางหายไป ผิวหน้านุ่มเนียนขึ้น วิตามินซียังมีความโดดเด่นในการผูกใจ คนรักสวยรักงาม คือ ทําให้เม็ดสีเมลานิน จางลง กระตุ้นการไหลเวียนโลหิตของผิว พรรณ ช่วยให้ผิวขาวขึ้นได้ในคนที่เป็นฝ้า กระ รอยดํา ส่งผลให้ผิวพรรณสดใส เรียบ เนียนและมีสุขภาพดีขึ้น และยังช่วยสมานแผล

ประโยชน์ของ วิตามินซี (Vitamin C)

มีบทบาทในระบบ “ปฏิกิริยาไฮดร๊อกซิเลชั่น (Hydroxylation)” ของ “โพรลีน (Proline)” เพื่อสร้าง “คอลลาเจน (Collagen)” ซึ่งเป็นองค์ประกอบของกระดูก กระดูกอ่อน ฟัน และผนังเส้นเลือด ช่วยเพิ่มการดูดซึมของเหล็ก ถ้าขาดจะมีเลือดออกตามไรฟัน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เหงือกบวม ฟันหลุดง่าย

  1. มีส่วนช่วยในการทําหน้าที่ตามปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
  2. มีส่วนช่วยในกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ
  3. มีช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง
  4. มีส่วนช่วยในการสร้างคอลลาเจนเพื่อการทํางานตามปกติของผิวหนัง

วิตามิน อี (Vitamin E)

“วิตามิน อี (Vitamin E)” เป็น “สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant)” ป้องกันการแตกสลายของเยื่อหุ้มเซลล์ ทําให้เม็ดเลือดแดง ไม่แตกง่าย และจําเป็นต่อการเจริญและพัฒนาต่อเซลล์ประสาท

“วิตามิน อี (Vitamin E)” เป็น “สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant)” ซึ่งจะไป “ทำให้เป็นกลาง (Neutralized)” ของการเกิด “อนุมูลอิสระ (Free radicals)” ดังนั้น “วิตามิน อี (Vitamin E)” เป็น สิ่งสำคัญในการดูแลรักษาผิว

มีการศึกษาวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่า “วิตามิน อี (Vitamin E)” ช่วยลด “โรคสะเก็ดเงินเกิดผื่นแดง (Psoriasis erythema)” และช่วยลดการเสี่ยงการเกิดมะเร็งผิวหนัง ช่วยรักษาแผลเป็น และช่วยลดริ้วรอยบนผิว

และจากการศึกษาพบว่า ผิวหนังในบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก เช่น ใบหน้า จะมีปริมาณของ “วิตามิน อี (Vitamin E)” มากกว่าบริเวณแขนถึง 20 เท่า เนื่องจากต่อมไขมัน เป็นช่องทางที่สำคัญ ในการหลั่ง “วิตามิน อี (Vitamin E)” ออกสู่ผิวหนัง

ประโยชน์ของ วิตามิน อี (Vitamin E)

ประโยชน์ของการใช้ ผลิตภัณฑ์ ที่มีส่วนผสมของ วิตามิน อี ในการป้องกันและรักษาผิวพรรณ

  1. ช่วยลดอัตราการทำลายของแสงแดด ที่ทำให้เกิดรอยแดง
  2. ลดอัตราการเกิดมะเร็งผิวหนังจากแสงแดด
  3. ช่วยชลอความชราภาพของผิว ลดริ้วรอยเหี่ยวย่น แตกลาย
  4. การให้ความชุ่มชื้นและ ลดความหยาบกร้านของผิวพรรณ

จะเห็นได้ว่า “วิตามิน อี (Vitamin E)” มีคุณสมบัติในการช่วยป้องกันผิวและช่วยบำรุงรักษาผิวและช่วยป้องกันอันตรายที่เกิด จากรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตได้อีกด้วย

(อ้างอิงที่ 1-12)

เอกสารอ้างอิง

  1. สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มาตรฐานสมุนไพรเล่มที่ 3 ชุมเห็ดเทศ Senna alata (L. Roxb. โรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, กรุงเทพฯ. 2545
  2. กองวิจัยและพัฒนาสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์กาแพทย์ คู่มือสมุนไพรเพื่อการสาธารณสุขมูลฐาน, Text and Journal Corporation กรุงเทพฯ 2531: 42
  3. J Ethnopharmacol 1990:29: 337-340.
  4. J Ethnopharmacol 1995; 45: 151-156
  5. J Ethnopharmacol 2003; 84(1): 1-4
  6. Arjinpathana N, Asawanonda P. Glutathione as an oral whitening agent: A randomized, double-blind, placebo- controlled study.Journal of Dermatological Treatment 2010: 1:6.
  7. มัณฑนา ภานุมาภรณ์, Herbal Whitening Agents. ใน : มัณฑนา ภานุมาภรณ์, บรรณาธิการ, Cosmetics for Aestheic and Health กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์ กรุงเทพฯ เวชสาร : 2552 : 107-130.
  8. Witschal A, Reddy S., Stofer B, et al. The systemic availability of oral glutathione: Effect on plasma concentration. American Journal of Physiology 1992:43:667-669.
  9. Hagen TM, Wierzbicks GT, Sillau AH, et al. Bioavailability of dietary glutathione: Effect on plasma concentration. American Journal of Physilogy-Gastrointestinal and liver Physiology 1990:259(4 22-4).
  10. Vikram Sinal Talaulikar, Isaac T. Manyonda. Vitamin C as an antioxidant supplement in women’s health: a myth in need of urgent burial, European Journal of Obstetrics & Gynecology and Reproductive Biology. Volume 157, Issue 1, July 2011, Pages 10-13
  11. Jens J. Thiele, Swarna Ekanayake-Mudiyanselage. Vitamin E in human skin: Organ- specific physiology and considerations for its use in dermatology Molecular Aspects of Medicine, Volume 28, Issues-56, October-December 2007, Pages 646-667
  12. Jay S. Trivedi, Steven L. Krill, James J. Fort. Vitamin E as a human skim penetrationenhancer European Journal of Pharmaceutical Sciences, Volume 3, Issue 4, August 1995, Pages 241-243

เรียบเรียงและจัดทำโดย Sirikul Shop

รหัสสินค้า : 37328

เลขที่จดแจ้งผลิตภัณฑ์ : 13-2-02456-5-0001

ขนาด กxยxส : –

น้ำหนัก/กิโลกรัม : 0.85

 กิฟฟารีน กลูต้าเคอร์คิวมา ซี-อี

ส่วนประกอบที่สำคัญ :
น้ำองุ่นขาวเข้มข้น 4.05 กรัม

แอล-กลูตาไธโอน 250 มิลลิกรัมวิตามินซี 60 มิลลิกรัม

สารสกัดจากขมิ้น 25 มิลลิกรัมวิตามินอี 20 มิลลิกรัม

สาหร่ายสีแดง (ฮีมาโตคอกคัส พลูวิเอลิส) 1.5 มิลลิกรัม

วิธีใช้ : เขย่าขวดก่อนดื่ม ดื่มวันละ 1 ขวด

 

รีวิว

ยังไม่มีบทวิจารณ์

มาเป็นคนแรกที่วิจารณ์ “เครื่องดื่ม กลูตาไธโอน ผสม น้ำขมิ้น 10 % วิตามิน ซี และ วิตามิน อี กิฟฟารีน กลูต้าเคอร์คิวมา ซี-อี (6 ขวด)”

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Shopping Cart
Scroll to Top