,

อาหารเสริม เห็ดหลินจือสกัด ชนิดแคปซูล กิฟฟารีน เห็ดหลินจือสกัด ชนิดแคปซูล (30 แคปซูล)

800฿

เห็ดหลินจือแดง สุดยอดยาอายุวัฒนะของจีน

เห็ดหลินจือหรือเห็ดของจักรพรรดิ์เป็นของหายากที่มีคุณค่าสูง เป็นยอดเห็ดที่ดีที่สุดในหมุ่สมุนไพรจีน โดยสายพันธ์ุที่นิยมและมีสรรพคุณทางยาที่ดีที่สุด คือ สายพันธุ์สีแดงหรือเห็ดหลินจือแดง การกินเห็ดหลินจือแดงเป็นประจำ จะช่วยปรับสมดุลในร่างกาย และออกฤทธิ์กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย

Availability: มีสินค้าอยู่ 20

รหัสสินค้า: 79201 หมวดหมู่: , ป้ายกำกับ:

อาหารเสริม เห็ดหลินจือสกัด ชนิดแคปซูล กิฟฟารีน เห็ดหลินจือสกัด ชนิดแคปซูล (30 แคปซูล)

Giffarine Lingzhi Extract Capsule : Dietary Supplement Lingzhi Extrac Capsule Type (30 capsules)

เห็ดหลินจือแดง สุดยอดยาอายุวัฒนะของจีน

เห็ดหลินจือหรือเห็ดของจักรพรรดิ์เป็นของหายากที่มีคุณค่าสูง เป็นยอดเห็ดที่ดีที่สุดในหมุ่สมุนไพรจีน โดยสายพันธ์ุที่นิยมและมีสรรพคุณทางยาที่ดีที่สุด คือ สายพันธุ์สีแดงหรือเห็ดหลินจือแดง การกินเห็ดหลินจือแดงเป็นประจำ จะช่วยปรับสมดุลในร่างกาย และออกฤทธิ์กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เห็ดหลินจือสกัด ชนิดแคปซูล 

  • มั่นใจในคุณภาพ และความปลอดภัย
  • ผ่านกระบวนการ ผลิตที่ได้มาตรฐาน GMP
  • ใช้เห็ดหลินจือสีแดง สายพันธุ์ Ganoderma lucidium เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่นิยมใช้ในทางยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกันอย่างแพร่หลาย

เรื่องน่ารู้ ของ เห็ดหลินจือ

เห็ดหลินจือ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ganoderma lucidum (Fr.) Karst. มีประวัติการใช้มาอย่างยาวนาน และใช้ในตํารายาจีนมานานนับพันปี มีสรรพคุณแผนโบราณว่าช่วยบํารุงร่างกาย บรรเทาอาการ อ่อนเพลีย แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง รักษาโรคหัวใจ ช่วยให้นอนหลับ เสริมภูมิต้านทาน แก้วิงเวียนศีรษะ (อ้างอิงที่ 1)

การศึกษาทางเภสัชวิทยาและทางคลินิก ของ เห็ดหลินจือ
1. ผลต่อระดับไขมันและน้ําตาลในเลือด

การศึกษาทางคลินิก (randomized, double-blind, cross-over study) ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและ/หรือมีไขมันในเลือดผิดปกติ จํานวน 26 ราย โดยได้รับสารสกัดเห็ดหลินจือ 360 มก. (เทียบเท่า เห็ดสดขนาด 13.2 ก.) วันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 แคปซูล เป็นเวลา 12 สัปดาห์

พบว่าระดับอินซูลินในน้ําเลือด และความดื้อต่อ อินซูลิน ลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก และพบว่ามีระดับไตรกลีเซอไรด์ ลดลง ในขณะที่ระดับโคเลสเตอรอลชนิด HDL เพิ่มขึ้น (อ้างอิงที่ 2)

เช่นเดียวกับ การศึกษาผลของสารสกัดเห็ดหลินจือ (double-blinded, placebo-controlled, cross-over intervention study) ในอาสาสมัครสุขภาพดี จํานวน 18 คน อายุ ระหว่าง 22 – 52 ปี (32 + 10 ปี) โดยได้รับสารสกัดเห็ดหลินจือ 360 มก. วันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 แคปซูล เป็นเวลา 4 สัปดาห์

พบว่าระดับไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์ และ โคเลสเตอรอล ชนิด LDL มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย โดยสารสกัด ที่ขนาดดังกล่าว ไม่เป็นพิษต่อตับ ไต และ ดีเอ็นเอ จากผลการทดลอง ทั้งหมดข้างต้น แสดงให้เห็นว่าสารสกัดด้วยน้ําจากเห็ดหลินจือ มีฤทธิ์ต้าน เบาหวานอย่างอ่อน และมีแนวโน้มทําให้ไขมันในเลือดลดลงซึ่งน่าจะช่วยในการลดความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติของหัวใจได้ (อ้างอิงที่ 3)

2. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเห็ดหลินจือใน อาสาสมัครสุขภาพดี จํานวน 10 คน อายุระหว่าง 22-56 ปี (35.2+10.4 ปี) โดยแบ่งเป็น 2 แบบ

แบบที่ 1 คือ ให้อาสาสมัคร จํานวน 10 คน รับประทาน สารสกัดเห็ดหลินจือ ในขนาด 1.1 กรัม เพียงครั้งเดียว แล้ววัดผลที่เวลา 0, 45, 90, 135, และ 180 นาที ซึ่งมีการทดสอบแยกออกมาในอาสาสมัคร อีก 7 คน เพื่อยืนยันผล อีกครั้ง โดยเพิ่มขนาดของสารสกัดเป็น 3.3 กรัม

และแบบที่ 2 ให้อาสาสมัครจํานวน 10 คน รับประทานสารสกัดด้วยน้ําจาก เห็ดหลินจือในขนาด 0.72 กรัม/วัน (สารสกัด 0.72 กรัม เทียบเท่า เห็ดหลินจือสด 6.6 ก.) เป็นเวลา 10 วัน จากผลการศึกษา แบบที่ 1

พบว่า ค่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระจะเพิ่มขึ้นภายใน เวลา 3 ชั่วโมง เมื่อทดสอบในเลือดและในปัสสาวะ และขึ้นสูงสุด หลังจากได้รับสารสกัดเป็นเวลา 90 นาที เมื่อให้ในขนาด 3.3 กรัม ส่วนผลการศึกษา แบบที่ 2

พบว่า ระดับ alpha-tocopherol ในเลือด และค่าความสามารถ ในการต้านอนุมูลอิสระในปัสสาวะ ของอาสาสมัครเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน รวมทั้งการทํางานของเอนไซม์ ที่มีฤทธิ์ต้าน อนุมูลอิสระในเม็ดเลือด เช่น superoxide dismutase (SOD) และ glutathione peroxidase (GPX) เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ยังไม่พบความผิดปกติใด ๆ สําหรับการใช้ ที่ขนาดดังกล่าว ทําให้ สรุปได้ว่าสารสกัดด้วยน้ําจากเห็ดหลินจือมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (อ้างอิงที่ 3)

3. ฤทธิ์เพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน

การศึกษาทางคลินิกแบบ non-randomized open clinical trial เพื่อทดสอบผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของสารโพลีแซคคาไรด์จาก สารสกัดเห็ดหลินจือ ในผู้ป่วย มะเร็งลําไส้ใหญ่ จํานวน 47 ราย เป็นเพศชาย 27 ราย และเพศหญิง 20 ราย โดยได้รับสารสกัด เห็ดหลินจือ 600 มก. ซึ่งมีโพลีแซคคาไรด์ 25% ครั้งละ 3 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารเป็นเวลา 12 สัปดาห์

พบว่าการ รับประทานสารสกัดเห็ดหลินจือมีแนวโน้มทําให้จํานวนของ ลิมโฟไซต์ชนิด CD3, CD4, CD8, CD56, ความเข้มข้นของ interleukin (IL>-2. IL-6, Interferon (IFN)-gamma และ NK activity ในน้ําเลือด เพิ่มขึ้น ในขณะที่ความเข้มข้นของ IL-1 และ tumor necrosis factor (INF)-alpha ลดลง แต่ผลทั้งหมดยังไม่ชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบ กับค่าที่วัดก่อนท่าการทดลอง

ท่าให้อาจสรุปได้ว่าเห็ดหลินจือ น่าจะมีผล ต่อการปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยมะเร็ง ล่าไส้ใหญ่ แต่ผลต้านการอักเสบยังให้ผลไม่ชัดเจน (อ้างอิงที่ 5)

การศึกษาทางคลินิกแบบ (A double-blind, randomized, placebocontrolled pilot trial) ในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ จํานวน 65 ราย โดยผู้ป่วยจํานวน 32 ราย จะได้รับแคปซูลขนาด 500 มก. ที่บรรจุตํารับยาจีน San Miao San ซึ่งมีสารสกัดเห็ดหลินจือ เป็นส่วนประกอบ 35.7% ครั้งละ 3 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 24 สัปดาห์ ส่วนผู้ป่วย อีก 33 ราย ได้รับยาหลอก

พบว่ากลุ่มที่ ได้รับตํารับยาที่มีสารสกัดเห็ดหลินจือเป็นส่วนประกอบ มีฤทธิ์ บรรเทาปวดในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ผู้ป่วยทนตํารับยา ได้ดีและค่อนข้างมีความปลอดภัย (อ้างอิงที่ 6)

4. ฤทธิ์ในการต้านมะเร็ง

เห็ดหลินจือมีคุณสมบัติในการต่อต้านโรคมะเร็งที่ได้ผลดีเยี่ยม เพราะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเซลล์เม็ดเลือดขาว เสริมสร้าง ภูมิคุ้มกันในร่างกายให้สามารถออกฤทธิ์ต่อต้านกับเซลล์มะเร็ง ในร่างกายได้มีรายงานวิจัยพบว่าชนิดของมะเร็งที่เห็ดหลินจือ สามารถยับยั้งได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็ง ต่อมลูกหมาก มะเร็งลําไส้ใหญ่ มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็ง ต่อมนํ้าเหลือง และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (อ้างอิงที่ 7-22)

การศีกษาความเป็นพิษ ของ เห็ดหลินจือ

การศึกษาทางคลินิก ในอาสาสมัครสุขภาพดี จํานวน 18 คน พบว่าการรับประทานสารสกัดเห็ดหลินจือขนาด 1.44 กรัม/วัน (เทียบเท่ากับเห็ดสด 13.2 กรัม/วัน) เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ไม่พบ ความเป็นพิษต่อตับ ไต และ ดีเอ็นเอ (อ้างอิงที่ 3)

การศึกษาผลต่อเลือดของสารสกัดเห็ดหลินจือในอาสาสมัคร สุขภาพดี จํานวน 40 คน เป็นเพศชาย 23 คน และเพศหญิง 17 คน โดยได้รับสารสกัดเห็ดหลินจือ 500 มก./แคปซูล วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 แคปซูล เป็นเวลา 4 และ 8 สัปดาห์ พบว่าสารสกัด เห็ดหลินจือที่ขนาดดังกล่าว ไม่ทําให้ตัวชี้วัดต่างๆ ในเลือดแตกต่าง ไปจากค่าปกติรวมทั้งไม่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด (อ้างอิงที่ 23)

การศึกษาทางคลินิกเพื่อทดสอบความปลอดภัยและความทนต่อการได้รับสารสกัดเห็ดหลินจือ ในอาสาสมัครสุขภาพดี จํานวน 16 คน เป็นเพศชาย 8 คน และเพศหญิง 8 คน โดยอาสาสมัคร ได้รับสารสกัดเห็ดหลินจือ 500 มก./แคปซูล วันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 4 แคปซูลเป็นเวลา 10 วัน ไม่พบความผิดปกติใดๆ เมื่อเทียบกับ กลุ่มที่ได้รับยาหลอก สรุปได้ว่าสารสกัดเห็ดหลินจือค่อนข้างปลอดภัย ในการใช้ (อ้างอิงที่ 24)

ขนาดและรูปแบบการใช้ เห็ดหลินจือ

ผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือที่พบได้ทั่วไป มีทั้งในรูปแบบที่ไม่ได้สกัด และที่เป็น สารสกัดจากส่วนดอก สปอร์ และเส้นใย ซึ่งขณะนี้ ยังไม่มีข้อบ่งใช้ทางการแพทย์ที่ชัดเจน แต่หากต้องการใช้เพื่อบํารุงร่างกายมีค่าแนะนําว่าให้ใช้ส่วนของหมวกเห็ดที่บดเป็นผงบรรจุ แคปซูลขนาดรับประทานวันละ 600 มก. – 2 กรัม หรือใช้ในรูป ยาน้ําเชื่อมรับประทานวันละ 4 – 6 มล. หรือใช้ในรูปทิงเจอร์เข้มข้น 20% รับประทานครั้งละ 10 มล. วันละ 3 ครั้ง (อ้างอิงที่ 1)

อาการข้างเคียง จากการใช้ เห็ดหลินจือ

ผลข้างเคียงและอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้เห็ดหลินจือ พบได้ค่อนข้างน้อย การรับประทานสารสกัดเห็ดหลินจือขนาด 1.5 – 9 กรัม/วัน ไม่พบผลข้างเคียงอย่างรุนแรง แต่การใช้ติดต่อกัน เป็นเวลานานอาจทําให้เกิดอาการคอแห้ง กระหายน้ํา ปัสสาวะบ่อย อึดอัดในท้อง เหงื่อออก หรือผื่นที่ผิวหนังได้ (อ้างอิงที่ 25)

ประโยชน์ ของ เห็ดหลินจือสกัด (Lingzhi Extract)
  1. ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตในผู้ป่วย โรคหัวใจ, โรคเบาหวาน, โรคมะเร็ง, โรคความดันเลือดสูง และผู้สูงอายุที่เป็นโรคไขมันในเลือดสูงให้ดีขึ้น
  2. เป็นอาหารเสริมบำรุงร่างกาย บรรเทาอาการอ่อนเพลีย
  3. ช่วยบำรุงสมอง ช่วยให้นอนหลับและป้องกันเส้นประสาทเสื่อม
  4. มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดหัวใจ ช่วยให้เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดเลือด
  5. มีฤทธิ์ต้านตับอักเสบ
  6. ลดน้ำตาลในเลือดลดไขมันในเลือด
  7. ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว, มะเร็งต่อมน้ำเหลือง, มะเร็งปอด, มะเร็งลำไส้, มะเร็งเต้านม, มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และมะเร็งต่อมลูกหมาก
  8. บำรุงไต ชะลอการเกิดโรคไตวายในระยะเริ่มแรก
  9. ต้านไวรัส ยับยั้ง HIV1 มีประโยชน์ในโรคงูสวัสดิ์
ข้อควรระวัง ในการใช้ เห็ดหลินจือ
  • ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้เห็ดหลินจือ และควรระมัดระวังการใช้ใน ผู้ที่แพ้สปอร์ของเห็ดต่างๆ
  • การรับประทานสารสกัดเห็ดหลินจือขนาด 2-10 กรัม/วัน ร่วมกับวิตามินซี ขนาด 6-12 กรัม/วัน จะทําให้ถ่ายอุจจาระเหลว
  • ควรระวังในการใช้ในผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เนื่องจาก เห็ดหลินจือมีฤทธิ์เพิ่มภูมิคุ้มกัน
  • ควรระวังในการใช้ในผู้ป่วยที่ได้รับประทานยากลุ่มป้องกัน การเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด เช่น ยา aspirin หรือยา warfarin โดยเห็ดหลินจือจะเสริมฤทธิ์กับยา จึงเพิ่มความเสี่ยงของการ เกิดภาวะเลือดออก (อ้างอิงที่ 1)
เห็ดหลินจือเหมาะกับใคร ?

เนื่องจากเห็ดชนิดนี้มีสรรพคุณที่ช่วยป้องกันและบำบัดรักษาโรคซะเป็นส่วนใหญ่ มันจึงเหมาะกับโรคของผู้สูงอายุและวัยก่อนสูงอายุที่เป็นโรคดังกล่าวข้างต้น เห็ดหลินจือสกัดรูปแบบของการรับประทาน แบ่งได้ หลายรูปแบบ อย่างแรกเลยก็คือยาต้มแบบโบราณ ด้วยการนำเห็ดหลินจือที่แห้งนำมาต้มและเคี่ยว ซึ่งเป็นวิธีที่ค่อนข้างยุ่งยากและไม่สะดวก
แบบที่สอง คือเนื้อเห็ดหลินจือบดเป็นผงบรรจุแคปซูล หากไม่ผ่านการฆ่าเชื้ออาจทำให้มีเชื้อราปนเปื้อนได้ โดยรูปแบบนี้จะมีความเข้มน้อยและดูดซึมได้ยาก แบบที่สามซึ่งเป็นแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็คือ เห็ดหลินจือสกัดหรือสารสกัดจากเห็ดหลินจือแคปซูล ซึ่งจะได้สารสกัดที่เข้มข้น มีสรรพคุณที่ดีกว่า ดูดซึมและออกฤทธิ์ได้ดีกว่า ที่สำคัญก็คือมีมาตรฐานการผลิตที่สะอาดและปลอดภัย

เห็ดหลินจือกินอย่างไร ?

สำหรับเวลาที่เหมาะสมก็คือการรับประทานตอนเช้าในขณะที่ท้องว่าง แล้วดื่มน้ำตามมาก ๆ ถ้าทานร่วมกับวิตามินซีด้วยก็จะดีมากเพราะจะช่วยเสริมสรรพคุณ และสำหรับผู้ที่ต้องกินยากดภูมิต้านทานหรือผู้ที่เป็นโรค SLE หรือผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ ควรงดรับประทาน

เคล็ดลับ! การกินสารสกัดจากเห็ดหลินจือ ให้ได้ประสิทธิภาพ

ส่วนใหญ่เราจะนิยมกินสารสกัดเห็ดหลินจือที่อยู่ในรูปแบบผงหรือแคปซูล เพราะจะออกฤทธิ์ได้เร็วกว่าการกินแบบโดยตรง การกินตอนเช้าขณะที่ท้องว่างและดื่มน้ำตามมากๆหากกินร่วมกับวิตามินซียิ่งจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เห็ดหลินจือแดงสกัดของกิฟฟารีน ของแท้มีคุณภาพมีผลงานวิจัยรับรอง

เอกสารอ้างอิง

  1. เห็ดหลินจือ… ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและการเกิดอันตรกิริยาต่อยาแผนปัจจุบัน จุลสารข้อมูลสมุนไพร 2562;36(2):3-15.
  2. Study of potential cardioprotective effects of Ganoderma lucidum (Lingzhi): results of a controlled human intervention trail. r J Nutr. 2012;107:1070-27.
  3. Ganoderma lucidum (“Lingzhi”), a Chinese medicinal mushroom: biomarker responses in a controlled human supplementation study. Br J Nutr. 2004;91(2):263-9.
  4. Int J Food Sci Nutr. 2004. https://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1080/09637480310001642610
  5. Int Immunopharmacol. 2006;6(3):499-508.https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/?term=Monitoring+of+immune+responses+to+a+herbal+immuno-modula tor+in+patients+with+advanced+colorectal+cancer.+Int+Immunopharmacol.+2006
  6. Arthritis Rheum. 2007. https://onlinelibrary.wiley.com/dol/full/10.1002/art.22994
  7. Nutr Cancer. 2011. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21888505
  8. PloS One. 2013. https://journals.plos.org/plosone/article?id=10.1371/journal. pone.0067431
  9. Nutr Cancer 2011. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3201987/
  10. Molecules. 2013. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6270046/
  11. J Pharmacol Sci 2008. https://www.jstage.jst.go.jp/article/jphs/108/2/ 108_SC0080019/_article
  12. Mol Med Rep. 2017. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5646967/
  13. Life Sci 2003. https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/ S0024320603001243?via%3Dihub
  14. Oncology Letters. 2017. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5765215/
  15. Int J Oncol. 2004. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16067330
  16. Oncol Lett. 2011. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3410455/
  17. J Recept Signal Transduct Res. 2016.https://www.tandfonline.com/doi/full/ 10.3109/10799893.2014.970276?scroll-top&needAccess=true
  18. J Hematol Oncol. 2008. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2517069/
  19. Leuk Res. 2006.https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/ 3014621260600473X?via%3Dihub
  20. Cell Mol Biol (Noisy-le-grand). 2016.https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/27188870
  21. J Ethnopharmacol. 2018. https://www.sciencedirect.com/science/article/pl/ 50378874118311991?via%3Dihub
  22. Nutr Cancer. 2008. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18444142
  23. Anesth Analg. 2006. https://insights.ovid.com/pubmed?pid=16037156
  24. Am J Chin Med. 2007. https://www.worldscientific.com/doi/abs/10.1142/ S0192416X07004928
  25. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน : ผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือ ปลอดภัยหรือไม่?? https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/370

เรียบเรียงและจัดทำโดย Sirikul Shop

รหัสสินค้า : 79201

เลขที่จดแจ้งผลิตภัณฑ์ : 13-1-03440-1-0170

ขนาด กxยxส : 7x11x3

น้ำหนัก/กิโลกรัม : 0.04

กิฟฟารีน เห็ดหลินจือสกัด (30 แคปซูล)

ส่วนประกอบที่สำคัญโดยประมาณใน 1แคปซูล:
เห็ดหลินจือสกัด 201 มก.
วิธีรับประทาน:
ครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

คำเตือน : อ่านคำเตือนในฉลากก่อนบริโภค ไม่มีผลในการป้องกันหรือรักษาโรค

รีวิว

ยังไม่มีบทวิจารณ์

มาเป็นคนแรกที่วิจารณ์ “อาหารเสริม เห็ดหลินจือสกัด ชนิดแคปซูล กิฟฟารีน เห็ดหลินจือสกัด ชนิดแคปซูล (30 แคปซูล)”

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Shopping Cart
Scroll to Top