,

เครื่องดื่ม ชาชงสมุนไพร มะขามแขก กิฟฟารีน ยาชงสมุนไพร มะขามแขก (20 ซอง)

100฿

ยาชงสมุนไพร มะขามแขก ช่วย บรรเทาอาการท้องผูก

“สมุนไพรมะขามแขก” มีสรรพคุณที่โดดเด่นในเรื่องของการใช้เป็นยาถ่าย เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ ผู้ที่มีกำลังน้อย เด็ก คนที่เป็นริดสีดวง หรือผู้ที่มีปัญหาท้องผูกอยู่บ่อย ๆ เนื่องจากมีสารแอนทราควิโนน (Anthraquinones) ที่มีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ให้ถ่ายท้องได้ โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้แก่ ส่วนของใบแห้งและฝักแห้งที่มีอายุในช่วง 1 เดือนครึ่ง (หรือช่วงก่อนออกดอก) แต่ควรใช้เป็นครั้งคราวเท่านั้นเพื่อความปลอดภัย

Availability: มีสินค้าอยู่ 20

รหัสสินค้า: 48015 หมวดหมู่: , ป้ายกำกับ:

เครื่องดื่ม ชาชงสมุนไพร มะขามแขก กิฟฟารีน ยาชงสมุนไพร มะขามแขก (20 ซอง)

Giffarine Herbal Senna Infusion : Drinks Herbal Senna Infusion (20 sachets)

ยาชงสมุนไพรมะขามแขก ช่วย บรรเทาอาการท้องผูก

“สมุนไพรมะขามแขก” มีสรรพคุณที่โดดเด่นในเรื่องของการใช้เป็นยาถ่าย เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ ผู้ที่มีกำลังน้อย เด็ก คนที่เป็นริดสีดวง หรือผู้ที่มีปัญหาท้องผูกอยู่บ่อย ๆ เนื่องจากมีสารแอนทราควิโนน (Anthraquinones) ที่มีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ให้ถ่ายท้องได้ โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้แก่ ส่วนของใบแห้งและฝักแห้งที่มีอายุในช่วง 1 เดือนครึ่ง (หรือช่วงก่อนออกดอก) แต่ควรใช้เป็นครั้งคราวเท่านั้นเพื่อความปลอดภัย

สรรพคุณของมะขามแขก
  1. ใบและฝักมะขามแขกใช้ปรุงเป็นยาถ่าย ยาระบายได้ดี และช่วยแก้อาการท้องผูกได้ โดยให้นำใบมะขามแขกประมาณ 2 หยิบมือ (ประมาณ 2 กรัม) หรือจะใช้ฝักประมาณ 10-15 ฝัก นำมาต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้วประมาณ 4 นาที และใส่เกลือเล็กน้อยเพื่อช่วยกลบรสเฝื่อน แล้วใช้รับประทานเพียงครั้งเดียว หรืออีกวิธีจะใช้วิธีการบดใบแห้งให้เป็นผง ใช้ชงกับน้ำดื่มก็ได้ สำหรับบางรายที่ดื่มแล้วเกิดอาการไซ้ท้อง หรืออาการปวดมวนท้อง (ใบจะออกฤทธิ์ไซ้ท้องมากกว่าฝัก) ให้แก้ไขด้วยการนำมาต้มรวมกับยาขับลมปริมาณเพียงเล็กน้อย เช่น กานพลู ขิง อบเชย กระวาน เพื่อช่วยบรรเทาอาการไซ้ท้องและเพื่อแต่งรสให้ดีขึ้น (ใบ, ฝัก)
  2. ใบมะขามแขกช่วยทำให้อาเจียน (ใบ)
  3. ช่วยถ่ายพิษไข้ (ใบ, ฝัก)
  4. ช่วยถ่ายพิษเสมหะ (ใบ)
  5. ช่วยแก้อาการสะอึก (ใบ)
  6. ช่วยขับลมในลำไส้ (ใบ, ฝัก)
  7. ช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ (ใบ)
  8. ช่วยถ่ายพิษอุจจาระเป็นมูก (ใบ)
  9. ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร (ใบ, ฝัก)
  10. ใบใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ (ใบ)
  11. ช่วยถ่ายโรคบุรุษ (ใบ)
  12. ช่วยถ่ายน้ำเหลือง (ใบ)
  13. ช่วยลดอาการบวมน้ำ (ใบ)
  14. มีรายงานว่าได้มีการใช้มะขามแขกในคนไข้หลังผ่าตัดคว้านต่อมลูกหมาก และพบว่ามะขามแขกช่วยทำให้ถ่ายอุจจาระที่มีลักษณะอันพึงประสงค์ได้ดีกว่าการใช้ Milk Of Magnesia (MOM) นอกจากนี้แคลเซียมเซนโนไซต์ ยังช่วยทำให้ผู้ป่วยสูงอายุหลังการผ่าตัดสามารถขับถ่ายอุจจาระได้คล่องยิ่งขึ้น
  15. ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของมะขามแขก ช่วยในการขับถ่ายอุจจาระ ต่อต้านการก่อกลายพันธุ์ และต้านเชื้อแบคทีเรีย

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ อาการท้องผูก กับ มะขามแขก

อาการท้องผูก เป็น อย่างไร?

ภาวะท้องผูก จัดเป็นอาการที่เกิดกับระบบทางเดินอาหาร เกิดได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย สําหรับรายที่มีอาการท้องผูกเล็กน้อย คงไม่จําเป็นต้องพึ่งพายาในการ รักษาแต่อย่างใด แต่หากมีอาการท้องผูกมากขึ้นและเป็นประจํา การใช้ยาก็เป็น ทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยรักษาอาการดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตามท้องผูกจัดเป็น อาการมิใช่เป็นชื่อของโรค

การจะทราบว่าใครมีภาวะท้องผูกบ้างอาจดูได้จาก อาการต่อไปนี้ คือ ต้องเบ่งอุจจาระมากกว่าร้อยละ 25 ของการขับถ่ายทั้งหมด หรือการมีภาวะอุจจาระแข็ง ถ่ายอุจจาระไม่หมด รู้สึกตุงบริเวณทวารหนัก หรือ ต้องใช้นิ้วล้วงทวารหนักเพื่อช่วยการขับถ่าย และสุดท้ายคือ จํานวนการถ่าย อุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ หากเกิดอาการข้างต้นมากกว่า 2 อาการ ถือว่ามีภาวะท้องผูก

สาเหตุการเกิดอาการท้องผูกอาจเกิดได้จากอะไรบ้าง?
  1. มีความผิดปกติทางกายภาพ ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติทางสรีระ หรือโรค ของลําไส้ รูทวาร ไขสันหลัง ความผิดปกติของเส้นประสาทที่ควบคุมการถ่าย การอุดตันของลําไส้ มะเร็งลําไส้ หรือพบร่วมกับโรคของระบบอื่น เช่น ภาวะการ มีฮอร์โมนไทรอยด์ต่ํา และการใช้ยาบางชนิด เช่น ยากล่อมประสาท ยาคลาย ความกังวล ยารักษาโรคจิตและอาการซึมเศร้า เป็นต้น
  2. ท้องผูกโดยไม่มีความผิดปกติทางกายภาพ เป็นอาการท้องผูกที่พบในคนที่มี สุขภาพแข็งแรงไม่มีโรค สาเหตุอาจเกิดได้จากอุปนิสัยการขับถ่าย ความเป็นอยู่ หรือจากสิ่งแวดล้อม อารมณ์และจิตใจก็ได้ เช่น การรับประทานอาหารที่มี กากน้อย ดื่มน้ําน้อย การขาดการออกกําลังกาย เป็นต้น หรือแม้แต่การกลั้น อุจจาระเนื่องจากความรีบร้อนในการทํางาน ทําให้ละเลยต่อการปวดถ่าย
วิธีการรักษา อาการท้องผูก มีอะไรบ้าง?
1. การรักษาโดยไม่ใช้ยา

การรักษาโดยไม่ใช้ยา กรณีภาวะที่มีอาการท้องผูกไม่รุนแรง อาการหายไป โดยไม่ต้องใช้ยาได้ ซึ่งมีข้อแนะนําดังนี้

  • ควรรับประทานอาหารที่มีกาก เช่น ผักต่างๆ และดื่มน้ํามากๆ
  • พยายามปรับสภาพชีวิตประจําวันให้มีการออกกําลังกายให้มากขึ้น เช่น ลดการใช้ลิฟท์หรือบันไดเลื่อนแล้วใช้การเดินแทน หรือการเดินแทน การขึ้นรถในระยะทางใกล้ๆ
  • บริหารร่างกายส่วนที่ให้ผลโดยตรงต่อกล้ามเนื้อหน้าท้อง เพราะจะช่วยให้ ขับถ่ายได้เป็นปกติและเป็นเวลา เช่น การให้นอนราบ เอามือวางบนอกเกร็งกล้ามเนื้อให้พยุงตัวขึ้นนั่ง โดยพยายามอย่างอเข่าหรือยกเท้า ทําซ้ํา เช่นนี้หลาย ๆ ครั้ง หรือให้นอนราบเอามือวางบนอก เกร็งกล้ามเนื้อท้อง ให้สามารถยกขาขึ้นเหนือพื้น โดยเหยียดขาให้ตรง ทําซ้ําเช่นนี้หลาย ๆ ครั้ง
2. การรักษาโดยการใช้ยา

เมื่อเกิดภาวะท้องผูกและมีความจําเป็นต้องใช้ยา ในการรักษาควรใช้เป็นการชั่วคราวเท่านั้น ไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 1 สัปดาห์ โดยเฉพาะยากลุ่มที่กระตุ้นการบีบตัวของลําไส้ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการติดยา และการเกิดกลุ่มอาการท้องผูกสลับท้องเสีย (Irritable Bowel Syndrome) ซึ่งจะทําให้การทํางานของลําไส้ใหญ่ลดลงมากกว่าปกติ เยื่อเมือกบุผนังลําไส้ เหี่ยวผิดปกติ กล้ามเนื้อใต้เยื่อบุผิวลําไส้หนามากขึ้น ปมประสาทเสื่อม และเกิดการสูญเสียโปรตีนทางลําไส้ได้ (อ้างอิงที่ 1)

ยากระตุ้นการบีบตัวของลําไส้ (Stimulants) มีอยู่หลายกลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม ไดฟีนิล-มีเทน (Diphenylmethanes), น้ํามันละหุ่ง (Castor Oil), กลุ่มแอนตี้ โคลีนเอสเทอเรส (Anticholinesterases), ยาเหน็บกลีเซอรีน (Glycerin), กลุ่มแอนทราซีนไกลโคไซด์ (Anthracene Glycosides) (อ้างอิงที่ 1) หนึ่งในยา กระตุ้นการบีบตัวของลําไส้ที่รู้จักกันดี คือ มะขามแขก ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม แอนทราซีนไกลโคไซด์ (Anthracene Glycosides)

 

มะขามแขก คือ อะไร?

มะขามแขก มีทรง ต้นเป็นพุ่ม หรือ กอขนาดเล็กแตกกิ่งก้านสาขามากมาย จะสูงประมาณ 60-150 เซนติเมตร ใบเหมือนกับกับมะขามทั่วไป แต่จะยาวกว่า และที่ปลายใบแหลมกว่า ก้านใบมีใบย่อย ประมาณ 7 คู่ และ ใบมีสีเขียว มีรสเปรี้ยวหวานชุ่ม ยอดของกิ่งจะออกดอกเป็นช่อสีเหลือง จะมีกลีบที่รองดอกและกลีอดอกเกือบมีขนาดที่เท่ากันจำนวน 5 กลีบ ออกผลเป็นฝักลักษณะเหมือนกับถั่วลันเตา แต่จะแบนกว่า กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7 เซนติเมตร มีสีเขียวใสตอนยังอ่อน เมื่อแก่จะกลายเป็นสีดำ มีเมล็ดประมาณ 6 เมล็ด มีรสเปรี้ยว

มะขามแขก มีชื่อสามัญภาษาอังกฤษคือ Senna มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Senna alexandrina P Miller หรือ Cassia angustifolia มีประวัติการนํามาใช้เป็นยา ระบายมานานเกือบ 100 ปี ในใบและฝักมะขามแขกมีสารที่ชื่อ แอนทราควิโนน ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลําไส้ใหญ่ ทําให้ถ่ายท้องได้ (อ้างอิงที่ 2) มีหลักฐาน ทางวิทยาศาสตร์เป็นจํานวนมาก รองรับสรรพคุณของมะขามแขก ดังนี้

ประโยชน์ ของ มะขามแขก
1. ด้านสารสาคัญในการออกฤทธิ์เป็นยาถ่าย

มีการศึกษาพบฤทธิ์เป็นยาถ่าย สารที่ออกฤทธิ์คือ Sennoside A และ B Aloe emodin, Dianthrone glycoside Anthraquinone glycoside

สาร Anthraquinone glycoside จะยังไม่มีฤทธิ์เพิ่มการขับถ่ายเมื่อผ่านลําไส้เล็ก เมื่อผ่านเข้าไปในลําไส้ใหญ่ Sennoside A จึงถูก Hydrolyze ได้ Sennoside A- 8-monoglu- coside wasan Hydrolyzed in Bata-glycosidase จากแบคทีเรียในลําไส้ใหญ่ และอุจจาระได้แก่ Bacillus, E. coli ได้ Sennidin A ส่วน Sennoside B ก็จะถูก เปลี่ยนแปลงด้วยกระบวนการเช่นเดียวกันได้ sennidin B ทั้ง Sennidin A & B จะเปลี่ยนกลับไปกลับมาได้ และถูก เปลี่ยนต่อไปเป็น Rheinanthrone ซึ่งออกฤทธิ์ต่อลําไส้ส่วน Colon โดยตรง สารสําคัญนี้จะกระตุ้นกลุ่มเซลล์ประสาทซึ่งอยู่ใต้ชั้น Submucosa ทําให้เกิดการ บีบตัวของลําไส้ (อ้างอิงที่ 3)

2. ฤทธิ์ในการกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลําไส้

มีผู้พบฤทธิ์กระตุ้นลําไส้ใหญ่ (อ้างอิงที่ 3) และมีการศึกษาในอาสาสมัคร 12 คน โดยให้ดื่มชาชงมะขามแขก เปรียบเทียบกับการรับประทานยา Erythromycin จากนั้นทําการถ่ายภาพลําไส้ใหญ่ด้วยวิธี Magnetic Resonance Imaging (MRI) ก่อนและหลังได้รับชาชงหรือยา พบว่ากลุ่มที่ได้รับชาชงมะขามแขกจะ ทําให้ลําไส้ใหญ่ส่วน Colon มีการเคลื่อนไหวมากกว่ากลุ่มที่ได้รับ Erythromycin อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (อ้างอิงที่ 3, 4)

3. การทดลองทางคลินิกสําหรับใช้รักษาอาการท้องผูก

มีการศึกษาในผู้ป่วยหลังผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก หรือมะเร็งกระเพาะ ปัสสาวะ ที่มีอาการท้องผูกจํานวน 92 คน อายุระหว่าง 43-82 ปี โดยให้ ผู้ป่วย 61 คน รับประทานยาแคลเซียมเซนโนไซด์

ซึ่งเป็นแคลเซียมฟอร์มของเซนโนไซด์ จากใบมะขามแขกที่ใช้เป็นยาระบาย ขนาดเม็ดละ 15 มก. 2 เม็ด ก่อนนอน ทุกคืน หลังผ่าตัดในวันที่ 1 และให้รับประทานติดต่อกันจนถึงวันที่ 7 หลังการ ผ่าตัด และคนไข้อีก 31 คน เป็นกลุ่มควบคุมไม่ได้รับยาระบายใดๆ

พบว่า ผู้ป่วยที่รับประทานยาแคลเซียมเซนโนไซด์ถ่ายอุจจาระคล่อง ตั้งแต่วันที่ 1 ถึง วันที่ 4 หลังรับประทานยา คิดเป็นร้อยละ 90 การถ่ายอุจจาระเฉลี่ยวันละ 1.23 ครั้ง/คน ส่วนกลุ่มควบคุมมีเพียงร้อยละ 19 เท่านั้น ที่ถ่ายอุจจาระคล่อง สัดส่วนของการถ่ายอุจจาระคล่องในผู้ป่วยที่รับประทานยาแคลเซียมเซนโนไซด์ มากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (อ้างอิงที่ 3)

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในผู้ป่วยหลังผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก จํานวน 81 ราย อายุระหว่าง 52-86 ปี โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม ซึ่งไม่ได้รับยา กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ได้รับยาเม็ดมะขามแขก 2 เม็ดก่อนนอน ทุกคืน หลังผ่าตัดในวันที่ 1 ติดต่อกันนาน 14 วัน กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่ ได้รับยาระบาย Milk of Magnesia (MOM) 30 มล. ก่อนนอน นาน 14 วัน จากนั้นทําการบันทึกลักษณะอุจจาระและจํานวนครั้งของการถ่ายอุจจาระ

พบว่า สัดส่วนของผู้ที่มีอาการท้องผูกและท้องเสียมีความแตกต่างกันระหว่าง 3 กลุ่ม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ กลุ่มควบคุมถ่ายอุจจาระไปทางแข็งที่ไม่พึงประสงค์ มากกว่ากลุ่มอื่น ส่วนกลุ่ม MOM ถ่ายไปในทางเหลวและน้ํามากกว่ากลุ่มอื่น จากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่า การใช้ยาเม็ดมะขามแขกในผู้ป่วยหลังผ่าตัด มะเร็งต่อมลูกหมาก จะช่วยให้การถ่ายอุจจาระในลักษณะที่พึงประสงค์ (ปกติ และเหลว) ได้ดีกว่าการใช้ยา MOM (อ้างอิงที่ 3)

มีการทดลองทางคลีนิคเพิ่มเติม โดยให้มารดาที่อยู่ในช่วงให้นมบุตรทาน มะขามแขก พบว่าใช้ได้ผลดีและไม่มีผลกระทบไปถึงทารก (อ้างอิงที่ 3, 5)

3 วิธีแก้อาการท้องผูก สบายท้องสบายใจ

  1. ดื่มน้ำตอนเช้า…แก้อาการท้องผูกได้ ดื่มน้ําอุ่น 3-4 แก้วขณะท้องว่าง ควรดื่มภายใน 10 – 15 นาที หลังลุกจากที่นอน
  2. นวดท้องช่วยถ่าย การนวดท้องสามารถช่วยให้ รู้สึกปวดถ่ายและถ่ายออกมาได้
  3. ไฟเบอร์และมะขามแขกตัวช่วยขั้นเทพ

เอกสารอ้างอิง

  1. เอกสารเผยแพร่เรื่อง การใช้ยาระบาย, กลุ่มพัฒนาระบบ กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สานักงานคณะกรรมการอาหารและยา http://www.oryor.com/oryor/admin/module/fda_info/file/f_39_1171707297.pdf
  2. มะขามแขก. องค์การเภสัชกรรม http://www.gpo.or.th/herbal senna senno.htm
  3. มะขามแขก, สมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร ณ สานักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. http://www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/index.asp
  4. Assessment of large bowel motility by cine magnetic resonance imaging using two different prokinetic agents: a feasibility study. Invest Radiol 2005 Nov;40(11):689-94.
  5. Clinical Study of Senna Administration to Nursing Mothers Assessment of Effects on Infant Bowel Habits. Can Med Assoc J. 1963 September 14: 89(11): 566-568.

เรียบเรียงและจัดทำโดย Sirikul Shop

รหัสสินค้า :.48015

เลขที่จดแจ้งผลิตภัณฑ์ : G 256/ 52

ขนาด กxยxส : 7.5×12.5×7

น้ำหนัก/กิโลกรัม : 0.08

ยาแผนโบราณ ยาสามัญประจำบ้าน

กิฟฟารีน ยาชงสมุนไพร มะขามแขก (20 ซอง)

ส่วนประกอบที่สำคัญโดยประมาณใน 1 ซอง :
ใบมะขามแขก 80 % 1600 มก.

ฝักมะขามแขก 20 % 400 มก.

วิธีรับประทาน:
1 ซอง แช่ในน้ำเดือด 1 ถ้วย (150มล.) รอประมาณ 10-20 นาที ใช้ดื่มวันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน เมื่อมีอาการท้องผูก

คำเตือน : ห้ามใช้เป็นยาลดความอ้วนหรือยาลดนํ้าหนัก

รีวิว

ยังไม่มีบทวิจารณ์

มาเป็นคนแรกที่วิจารณ์ “เครื่องดื่ม ชาชงสมุนไพร มะขามแขก กิฟฟารีน ยาชงสมุนไพร มะขามแขก (20 ซอง)”

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Shopping Cart
Scroll to Top