เรื่องน่ารู้ของ แคลเซียม แร่ธาตุ และวิตามินต่างๆ เราไปเรียนรู้กัน ว่ามีอะไรกันบ้างดีกว่า
แคลเซียม (calcium) คือ อะไร?
“แคลเซียม (calcium)” เป็น “ธาตุ” ที่มีมากที่สุดของร่างกาย เป็น “โครงสร้างหลักของกระดูกและฟัน” ช่วยในการเจริญเติบโต ช่วยให้กระดูกแข็งแรง ไม่บางหรือแตกหักง่าย เป็นสารอาหารจำเป็นที่คนไทยจำนวนมากขาดแคลน จึงทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา
แคลเซียมเสริมสุขภาพ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับ กระดูกและฟัน อีกทั้งป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน
ประโยชน์ของ แคลเซียม (calcium)
- เสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยป้องกันความผิดปกติของกระดูกและฟัน เช่น กระดูกหักง่าย หลักโก่งงอ กระดูกเรียงผิดรูป หรือฟันหักง่าย
- ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ช่วยสร้างเนื้อกระดูกให้มีความหนาแน่นมากขึ้น
- ลดอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ
- ช่วยให้การเจริญเติบโตในด้าน ความสูงและความแข็งแรง ของเด็กในวัยเจริญเติบโต
(อ้างอิงที่1)
แคลเซียม มีประโยชน์กับ กระดูก อย่างไร?
“แคลเซียม (calcium)” เป็นธาตุที่มีมากที่สุดของร่างกาย เป็นโครงสร้างหลักของกระดูกและฟัน
“ในเด็ก” แคลเซียมจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและความสูง เป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับเด็ก ในช่วง
“วัยปีทอง” (Growth spurt) ซึ่งเป็นช่วงสะสมมวลกระดูกสำหรับการเจริญเติบโต และเพิ่มมวลกระดูกให้มีปริมาณสูงสุด
“สำหรับในผู้ใหญ่” หากร่างกายไม่ได้รับ “แคลเซียม (calcium)” ในปริมาณที่พอเพียง ร่างกายจะดึงแคลเซียมที่สะสมอยู่ในกระดูกออกมาใช้ และหากไม่ได้รับอย่างพอเพียงเป็นประจำ แคลเซียมในกระดูกจะถูกดึงออกมามากจนกระทั่งกระดูกพรุน เปราะ ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลงจึงแตกหักได้ง่าย
แม้ว่าได้รับแรงกระแทกเพียงเล็กน้อย ซึ่งอาการดังกล่าวคืออาการของ “โรคกระดูกพรุน” (Osteoporosis) โดยหากเป็นรุนแรงแล้วจึงจะแสดงอาการออกมา เช่น ปวดหลังเรื้อรังหลังค่อมจากการยุบตัวลงของกระดูกสันหลัง หรือกระดูกสะโพกหักทำให้เดินไม่ได้เหมือนเดิม
“ในผู้หญิง” มีโอกาสเกิดโรคนี้ได้ “มากกว่าผู้ชายหลายเท่า (ประมาณ 4 เท่า)” และ “ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน” นั้น ในช่วง 5 ปีแรกมวลกระดูกจะลดลงอย่างรวดเร็ว จึงมีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนได้ง่าย
ดังนั้น คนที่มีการสะสมมวลกระดูกมากตั้งแต่วัยเด็กถึงวัยหนุ่มสาว เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนและวัยชราจะยังมีมวลกระดูกอยู่เหลือมากกว่าคน ที่มีการสะสมมวลกระดูกน้อย และลดความเสียงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนในวัยสูงอายุ (อ้างอิงที่ 1-5)
ความต้องการแคลเซียมต่อวัน
สถานการณ์ที่เกี่ยวกับโภชนาการของแคลเซียมในประเทศไทย มีรายงานสำรวจภาวะการณ์ บริโภคอาหารของประชาชนไทย พบว่าโดยเฉลี่ยแล้ว คนไทยรับประทานแคลเซียม จากอาหารประจำวันได้เพียง 301 มก.ต่อวัน ซึ่งค่อนข้างต่ำ (อ้างอิงที่ 6)
ขณะที่ทางกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำข้อมูลสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวัน สำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป (Thai Recommended Daily Intakes-Thai RDI) (อ้างอิงที่ 7)
โดยแนะนำว่า ปริมาณแคลเซียมที่ควรรับประทานต่อวันอยู่ที่ 800 มก. หรือเมื่อเทียบกับนมกล่อง(UHT) ซึ่งมีค่าปริมาณแคลเซียมอยู่ที่ 122 มก./100 มล. แล้ว (อ้างอิงที่ 8) เทียบเท่ากับการดื่มนมประมาณวันละ 650 ซีซี หรือประมาณ 3 กล่อง
อย่างไรก็ตามปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายต้องการจะเปลี่ยนแปลงตามช่วงอายุ
ปริมาณความต้องการแคลเซียมในแต่ละวัย
วัย | ปริมาณแคลเซียมที่ต้องการ/วัน | เทียบเท่ากันนมสด/วัน |
เด็กก่อนวัยปีทอง | 800 มก. | 3-5 แก้ว |
เด็กวัยปีทอง | 1,200 มก. | 5-6 แก้ว |
ผู้ใหญ่ | 800 มก. | 3-5 แก้ว |
สตรีวัยหมดประจำเดือน | 1,200 มก. | 5-6 แก้ว |
การได้รับแคลเซี่ยมในปริมาณน้อยกว่า 2000 มก. ถือว่า ปลอดภัย สำหรับวัยรุ่นและผู้ใหญ่ทั่วไป ถ้าในปริมาณที่มากกว่า 2000 มก./วัน ถือว่า ไม่ปลอดภัย และอาจเป็นอันตรายได้ ถ้าได้รับเช่นนี้ต่อเนื่องหลายๆ วัน ติดๆ กัน โดยจะทำให้ท้องผูกและอาจทำให้เป็นนิ่วในไตหรือในระบบปัสสาวะได้
“สรุปแล้ว แคลเซียม ที่พอเพียงมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย” บำรุงกระดูก การขาดแคลนมีผลทำให้ความสูงหยุดชะงักได้ องค์ประกอบที่จะสูงไม่ได้มาจาก “แคลเเซียม” แต่เพียงอย่างเดียว
อาหารที่มีแคลเซี่ยมสูงหลากหลายให้เลือก และ “นม” เป็นอาหารที่ทานง่ายที่สุด ในกรณีที่ดื่มนมไม่ได้ ก็อาจทานอาหารชนิดอื่นหรืออาหารสุขภาพที่ปลอดภัย ซึ่งเสริมแคลเซี่ยมในบ้านเราก็มีหลายชนิดโดยทานปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากจนเกินไป ก็จะเป็นการใส่ใจดูแลทางโภชนาการที่สมบูรณ์
“แคลเซียม (calcium)” จึงเป็น “สารอาหารที่จำเป็น” ที่คนไทยจำนวนมากขาดแคลน นอกจากการดื่มนมทุกวันแล้ว อาหารเสริม แคลเซียม เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้บริโภคเช่นกัน และโดยส่วนตัวแล้ว ผมเองก็ทาน แคลดีแมก 600 เหมือนกัน
คำถาม ที่มักพบบ่อย ของ แคลเซียม จาก กิฟฟารีน ?
Q: แคลเซียมแต่ละชนิด ทำมาจากอะไร ?
- Calcium carbonate (แคลเซียม คาร์บอเนต)
เป็น แคลเซียมที่พบมากตามธรรมชาติ ซึ่งจะอยู่ในรูปของหินปูน โดยจะแตกตัวให้แคลเซียม มากที่สุดถึง 40% - Calcium citrate (แคลเซียม ซิเตรท)
เป็น แคลเซียม ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมได้ง่ายขึ้น ซื่งเกิดจากการรวมตัวกันระหว่าง Calcium carbonate + กรดcitrate โดยจะแตกตัวให้แคลเซียม 21% - Calcium lactate (แคลเซียม แลคเตท)
เป็น แคลเซียม ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมได้ง่ายขึ้น ซื่งเกิดจากการรวมตัวกันระหว่าง Calcium carbonate + กรด lactate โดยจะแตกตัวให้แคลเซียม 13% - Calcium gluconate (แคลเซียม กลูโคเนต)
เป็น แคลเซียม ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมได้ง่ายขึ้น ซื่งเกิดจากการรวมตัวกันระหว่าง Calcium carbonate + กรด gluconate โดยจะแตกตัวให้แคลเซียม 9%
Q: แคลเซียมแต่ละชนิด แตกต่างกันอย่างไร ?
A: มีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องของการแตกตัว และ การดูดซึม ดังนี้
แคลเซียม คาร์บอเนต | แคลเซียม ซิเตรท | |
ปริมาณการรับประทานที่เท่ากัน | 1,000 มก. | 1,000 มก. |
การแตกตัวให้ Calcium | 400 มก. | 211 มก. |
% การดูดซึมของแคลเซียม | 31.2% | 39.2% |
ปริมาณของแคลเซียมที่ร่างกายดูดซึมได้จริง | 124.8 มก. | 82.7 |
ราคา | ราคาถูกกว่า | ราคาแพงกว่าต้องรับประทานมากกว่า จึงจะได้แคลเซียมเท่ากับที่ได้รับจาก แคลเซียม คาร์บอเนต |
Q: ชนิดของ แคลเซียม ในท้องตลาด ?
A: ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในท้องตลาด จะแตกต่างกันที่ ชนิด และ ปริมาณ ของแคลเซียม ดังนี้
ผลิตภัณฑ์ | ชนิดของแคลเซียมที่ใช้ | ปริมาณแคลเซียมที่ใส่ต่อ 1 เม็ด (มก.) | ปริมาณแคลเซียมที่ได้ (มก.) |
A | ไตร แคลเซียม ซิเตรท | 1,000 | 211 |
B | แคลเซียม คาร์บอเนต | 1,750 | 700 |
C | แคลเซียม คาร์บอเนต | 1,500 | 600 |
D | แคลเซียม คาร์บอเนต | 1,000 | 400 |
Q: แคลเซียมของกิฟฟารีน ทำมาจากแคลเซียมชนิดใด ?
A: แคลเซียมของกิฟฟารีน มีทั้งชนิดเม็ดและน้ำ ซื่งทั้ง 2 ชนิด ใช้แคลเซียม คาร์บอเนต ซึ่งเป็นรูปแบบที่แตกตัว ให้แคลเซียมสูงที่สุด และมีราคาไม่แพง
- แคลเซียมในรูปแบบเม็ด แนะนำให้ทานพร้อมอาหารเพื่อให้ประสิทธิภาพในการดูดซึมดียิ่งขี้น
- แคลเซียมในรูปแบบน้ำ แคลเซียมในรูปแบบน้ำนี้ เป็นแคลเซียมที่มาจากสาหร่ายสีแดง ประเทศไอช์แลนด์ ซี่งมีงานวิจัยว่าแตกตัวได้ดีมาก ให้แคลเซียมสูง และดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย
ดังนั้น ในการเลือกทานแคลเซียมจึงต้องคำนึงถึงความคุ้มค่า ในด้านของราคา และเน้นย้ำซึ้งวิธีการทาน เช่น แนะนำให้ทานพร้อมมื้ออาหาร เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดนั่นเอง
Q: ในแต่ละวัน ควรทานแคลเซียม วันละเท่าไหร ?
A: ในแต่ละช่วงวัยร่างกายต้องการแคลเซียมที่แตกต่างกัน ดังนี้
ช่วงอายุ | ปริมาณแคลเซียมที่ต้องการในแต่ละวัน (มิลลิกรัม) | ปริมาณนมที่ควรดื่มเพื่อให่ได้แคลเซียมตามที่ต้องการ |
4 – 8 ปี | 800 มก. | 3 – 5 แก้ว |
9 – 18 ปี | 1200 มก. | 5 – 6 แก้ว |
19 – 45 ปี | 800 มก. | 3 – 5 แก้ว |
45 ปีขึ้นไป | 1200 มก. | 5 – 6 แก้ว |
Q: ถ้าทานแคลเซียม เกินความต้องการในแต่ละวัน จะทำให้เกิดโรคกระดูกงอก หรือไม่ ?
A: หากเราทานแคลเซียมเกินความต้องการ “แคลเซียมที่เหลือ จะไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย แต่จะถูกขับออกจากร่างกายโดยธรรมชาติ และไม่เป็นสาเหตูของ โรคกระดูกงอก”
Q: การทานแคลเซียม ช่วยทำให้สูงขึ้น ได้จริงหรือไม่ ?
A: ในช่วง ปีทอง ของ วัยรุ่น หรือ Growth Spurt (วัยรุ่นชาย อายุ 10-16 ปี และ วัยรุ่นหญิง อายุ 9-13 ปี)
ร่างกายจะพัฒนาอย่างเต็มที่ และจะมีส่วนสูงขึ้น เฉลี่ย 6-11 ซม./ปี ดังนั้น อาหารที่มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง จึงจำเป็นอย่างมากในการเสริมสร้างความยาวของกระดูก โดยเด็กในช่วงนี้ ควรได้รับแคลเซียม วันละ 1200 มก. หรือ ดื่มนม วันละ 4-5 แก้ว แต่เด็กไทยส่วนใหญ่มักจะดื่มนมได้น้อย จึงควรได้รับแคลเซียมเสริมเพื่อให้เหมาะสมต่อความต้องการในแต่ละวัยนั่นเอง
Q: การทานแคลเซียม มีข้อห้าม หรือ ข้อควรระวัง หรือไม่ ?
- เด็กเล็กสามารถสามมารถทานแคลเซียมได้ แต่ต้องเป็รในรูปแบบที่เด็กเล็กสามารถทานได้เท่านั้น
- ผู้ที่เป็นโรคไต หรือ นิ่วในไต ควรได้รับแคลเซียมในปริมาณที่เหมาะสมจีงยังไม่แนะนำ หรือต้องปรีกษาแพทย์ก่อนรับประทาน
- แคลเซียมจำเป็นสำหรับสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร แต่ต้องอยู่ในตวามดูแลของแพทย์เท่านั้น
(อ้างอิงที่ 9-13)
ใครบ้าง ที่ต้องการแคลเซียม
- ผู้ที่ต้องการบํารุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ป้องกันกระดูกพรุน
- เด็กวัยเจริญเติบโต (Growth Spurt)
- หญิงตั้งครรภ์ เพื่อให้เพียงพอ ต่อการสร้างกระดูกของลูกในครรภ์
- หญิงวัยหมดประจําเดือน
- ผู้สูงอายุ ที่พบกระดูกพรุน และข้อเสื่อม
อาหารเสริมแคลเซียม จาก กิฟฟารีน มีอะไรบ้าง?
อาหารเสริม แคลเซียม กิฟฟารีน แคล-ดี-แมก (60 เม็ด)
มาเสริมแคลเซียม ด้วย แคล-ดี-แมก ตัวช่วยที่ดี สำหรับ กระดูกและฟัน
อาหารเสริม แคลเซียม กิฟฟารีน แคล-ดี-แมก ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แคลเซียม ช่วย บำรุงกระดูกและฟัน เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกและฟัน ผสม แมกนีเซียม (Magnesium), สังกะสี (Zinc), ทองแดง (Copper), วิตามินซี (Vitamin C), วิตามินอี (Vitamin E) และ วิตามิน ดี 3 (Vitamin D 3) ช่วย เพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมของแคลเซียมให้ดียิ่งขึ้น
- แมกนีเซียม (Magnesium) ในร่างกายส่วนมาก (60-70%) จะพบในกระดูก แมกนีเซียมจำเป็นสำหรับการเติบโตของกระดูก การส่งสัญญาณทางประสาท และการหดตัวของกล้ามเนื้อ การได้รับ แมกนีเซียมในขนาดที่พอเหมาะ จะช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง
- สังกะสี (Zinc) จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต การเจริญเติบโตของระบบสืบพันธุ์ สำคัญในการสร้างกระดูกตามปกติ และช่วยในการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
- ทองแดง (Copper) มีความสำคัญในระบบโครงสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพันร่วมกับวิตามินซี ในการสร้าง อีลาสติน จำเป็นสำหรับการเผาผลาญโปรตีน และการสร้างสีของ ผิวหนัง และ สีผม
- วิตามินซี (Vitamin C) เป็น วิตามินที่มีกลไกในการต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) และยังช่วยเสริมสร้างผนังหลอดเลือด ให้แข็งแรง ช่วยในการดูดซึมแร่ธาตุ เสริมสร้างเซลล์ให้แข็งแรง
- วิตามินอี (Vitamin E) เป็น สารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันไม่ให้เซลล์เสื่อมสภาพ จำเป็นต่อการเจริญและพัฒนาของเซลล์ประสาท
- วิตามิน ดี 3 (Vitamin D 3) เสริมประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซี่ยมให้ดีขึ้น
กิฟฟารีน แคล-ดี-แมก (60 เม็ด)
ส่วนประกอบที่สำคัญโดยประมาณใน 1 เม็ด: | |
แคลเซียม | 400 มก. |
แมกนีเซียม | 54 มก. |
วิตามิน ดี3 | 90 หน่วยสากล |
วิตามิน ซี | 32 มก. |
สังกะสี | 4.2 มก. |
วิตามิน อี | 3 หน่วยสากล |
ทองแดง | 0.45 มก. |
วิธีรับประทาน: รับประทานครั้งละ 1 เม็ด พร้อมอาหารเช้า-เย็น |
อาหารเสริม แคลเซียม กิฟฟารีน แคล-ดี-แมก 600 (60 เม็ด)
เสริมแคลเซียม ด้วย แคล-ดี-แมก ตัวช่วยที่ดี สำหรับ กระดูกและฟัน
อาหารเสริม แคลเซียม กิฟฟารีน แคล-ดี-แมก 600 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แคลเซียม ช่วย บำรุงกระดูกและฟัน เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกและฟัน ผสม แมงกานีส (Manganese), แมกนีเซียม (Magnesium), สังกะสี (Zinc), ทองแดง (Copper), วิตามินซี (Vitamin C), วิตามินอี (Vitamin E) และ วิตามิน ดี 3 (Vitamin D 3) ช่วย เพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมของแคลเซียมให้ดียิ่งขึ้น
- แมงกานีส (Manganese) เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นในการพัฒนาของกระดูกตามปกติ จำเป็นสำหรับการสร้างเสริมระบบโครงสร้างของร่างกาย
- แมกนีเซียม (Magnesium) ในร่างกายส่วนมาก (60-70%) จะพบในกระดูก แมกนีเซียมจำเป็นสำหรับการเติบโตของกระดูก การส่งสัญญาณทางประสาท และการหดตัวของกล้ามเนื้อ การได้รับ แมกนีเซียมในขนาดที่พอเหมาะ จะช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง
- สังกะสี (Zinc) จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต การเจริญเติบโตของระบบสืบพันธุ์ สำคัญในการสร้างกระดูกตามปกติ และช่วยในการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
- ทองแดง (Copper) มีความสำคัญในระบบโครงสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพันร่วมกับวิตามินซี ในการสร้าง อีลาสติน จำเป็นสำหรับการเผาผลาญโปรตีน และการสร้างสีของ ผิวหนัง และ สีผม
- วิตามินซี (Vitamin C) เป็น วิตามินที่มีกลไกในการต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) และยังช่วยเสริมสร้างผนังหลอดเลือด ให้แข็งแรง ช่วยในการดูดซึมแร่ธาตุ เสริมสร้างเซลล์ให้แข็งแรง
- วิตามินอี (Vitamin E) เป็น สารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันไม่ให้เซลล์เสื่อมสภาพ จำเป็นต่อการเจริญและพัฒนาของเซลล์ประสาท
- วิตามิน ดี 3 (Vitamin D 3) เสริมประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซี่ยมให้ดีขึ้น
กิฟฟารีน แคล-ดี-แมก (60 เม็ด)
ส่วนประกอบที่สำคัญโดยประมาณใน 1 เม็ด: | |
แคลเซียม | 600 มก. |
แมกนีเซียม | 54 มก. |
วิตามิน ดี3 | 90 หน่วยสากล |
วิตามิน ซี | 32 มก. |
สังกะสี | 4.2 มก. |
วิตามิน อี | 3 หน่วยสากล |
ทองแดง | 0.45 มก. |
วิธีรับประทาน: รับประทานวันละ 1 เม็ด พร้อมหรือหลังอาหารเย็น |
เอกสารอ้างอิง
- เครือข่ายวิชาการสุขภาพเรื่อง แคลเซียม, วิตามินดี, แมกนีเซียม, แมงกานีส, วิตามินซี, สังกะสี, ทองแดง และวิตามินอี. สำนักงานคระกรรมการอาหารและยา
- Calcium needs of adolescents. Curr Opin Pedlatr. 1994 Aug:6(4):379-82.
- Calcium, American Academy of Orthopaedic Surgeons.
- แคลเซียมกับโรคกระดูกพรุน, กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
- Osteoporosis-related life habits and knowledge about osteoporosis among women in El Salvador: A cross-sectional study BMC Musculoskelet Disord. 2004; 5: 29.
- กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข “ข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันและแนวทางการบริโภคอาหารสำหรับคนไทย” พ.ศ.2532 หน้า 85-90
- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 182) พ.ศ. 2541 เรื่อง ฉลากโภคชนาการ
- ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย, คณะกรรมการสวัสดิการกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ISBN : 974-515-295-1 หน้า 59
- เครือข่ายวิชาการสุขภาพเรื่อง แคลเซียม, วิตามินดี, แมกนีเซียม, แมงกานีส, วิตามินซี, สังกะสี, ทองแดง และวิตามินอี. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
- Calcium needs of adolescents. Curr Opin Pediatr. 1994 Aug;6(4):379-82.
- Calcium, American Academy of Orthopaedic Surgeons.
- แคลเซียมกับโรคกระดูกพรุน, กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
- Osteoporosis-related life habits and knowledge about osteoporosis among women in El Salvador: A cross-sectional study BMC Musculoskeletal Disord. 2004; 5: 29.
เรียบเรียงและจัดทำโดย Sirikul Shop
สิทธิพิเศษเมื่อสมัครสมาชิกกิฟฟารีนกับเรา
- ค่าสมัครเพียง 180 บาท เป็นสมาชิกตลอดชีพ ไม่มีค่าต่ออายุรายปี
- รับแคตตาล็อกสินค้าพร้อมบัตรสมาชิก และรับส่วนลดในการซื้อสินค้าราคาสมาชิก 25% ได้ทันที
- รับเงินปันผล 10%-15%-25% คืนกลับมาจากการใช้สินค้าทุกเดือน และรับโบนัสพิเศษอื่นๆ อีกมากมาย
- รับสิทธิ์แลกซื้อสินค้าราคาโปรโมชั่นพิเศษประจำเดือน และโปรโมชั่นของแถมประจำสัปดาห์ ได้ทุกเดือน
- ประกันคุ้มครองชีวิตฟรี ในรหัสเดียวกัน สามี/ภรรยา วงเงินตั้งแต่ 120,000-320,000 บาท
- สามารถเลือกได้ว่าต้องการเป็นผู้ใช้สินค้าเพียงอย่างเดียว หรือ ต้องการทำเป็นธุรกิจเพื่อสร้างรายได้
- สร้างเครือข่ายได้รับลิขสิทธิ์ 4%-10% พร้อมส่งต่อเครือข่าย และรายได้ทั้งหมด เป็นมรดกให้ทายาท
- เมื่อขึ้นตำแหน่งแล้วจะไม่มีการปรับหรือลดตำแหน่งในภายหลัง แม้ว่าจะไม่ได้รักษายอดในเดือนถัดไป
สำหรับท่านที่สมัครสมาชิกกิฟฟารีน กับ ทางเว็บไซต์ ของเรา
- รหัส สมาชิก ของท่าน คือ คูปองส่วนลด 25% ในการ ซื้อ สินค้า กับทาง เว็บไซต์ ของเรา
- เราจำกัดแค่ ต้องใช้คูปองกับ เว็บไชต์ ของเรา แต่ เราไม่ได้จำกัด ผู้ใช้ คุณ จะให้ใครใช้ก็ได้ โดย เราจัดส่งให้ ฟรี !
- สำหรับ ท่าน ที่ต้องการต่อยอด ธุรกิจ ลองปรีกษาเรา เรายินดีที่จะให้คำปรึกษา แก่คุณ
- ช่องทางสะดวกให้คำปรึกษา Fan Page Sirikul Shop