อาหารเสริม ใบมะรุม ผสม วิตามินซี ชนิดแคปซูล กิฟฟารีน มะรุม-ซี (60 แคปซูล)
Giffarine Moringa-C : Moringa Leaf Dietary Supplement Mixed with Vitamin C Capsule Type (60 capsules)
ตัวช่วยในการ ลดน้ำตาล และ เบาหวาน
กิฟฟารีน มะรุม-ซี ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ใบมะรุม (Moringa Leaf) ผสม วิตามินซี (Vitamin C) ชนิดแคปซูล วัตถุดิบผ่านกระบวนการผลิตที่ทันสมัย และได้มาตรฐาน ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบประกันคุณภาพ GMP สากล มั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัย
Marum-C กิฟฟารีน มะรุม-ซี สมุนไพรคุณภาพ จาก กิฟฟารีน
ใน 1 แคปซูล ประกอบด้วย ใบมะรุมชนิดผง 450 มก. วิตามินซี 15 มก.
- วัตถุดิบผ่านกระบวนการผลิต ที่ทันสมัยและได้มาตรฐาน
- ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรอง ระบบประกันคุณภาพ GMP สากล สําหรับการผลิต ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จาก บริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จํากัด
- จํากัด มั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัย
เรื่องน่ารู้ ของ มะรุม (Moringa)
มะรุม ชื่อสามัญ Moringa
มะรุม (Moringa) ชื่อ วิทยาศาสตร์ Moringa oleifera Lam. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Guilandina moringa L., Hyperanthera moringa (L.) Vahl, Moringa zeylanica Burmann) จัดอยู่ในวงศ์ MORINGACEAE
สมุนไพรมะรุม มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า บะค้อนก้อม (ภาคเหนือ), ผักอีฮุม บักฮุ้ม (ภาคอีสาน) เป็นต้น
มะรุม (Moringa) จัดเป็นพืชผักพื้นบ้านของไทยซึ่งเป็นพืชผักสมุนไพร โดยมีต้นกำเนิดในแถบทวีปเอเชีย อย่างประเทศอินเดียและศรีลังกา โดยเป็น ไม้ยืนต้น ที่โตเร็ว ปลูกง่ายในเขตร้อน ทนแล้ง สามารถรับประทานได้ทุกส่วนไม่ว่าจะเป็น ฝัก ใบ ดอก เมล็ด ราก เป็นต้น แต่ถ้านำมาใช้เป็นยาสมุนไพรนั้นจะใช้เกือบทุกส่วนของต้นมะรุมรวมทั้งเปลือกด้วย
มะรุม (Moringa) อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุรวมหลายชนิด ซึ่ง”จุดเด่นของมะรุม“ก็คือจะมี วิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียม โพแทสเซียม และ ธาตุเหล็ก ในปริมาณที่สูงมาก นอกจากนี้ มะรุม ยังมีประโยชน์ในการรักษาโรคได้หลายชนิด แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่ควรจะมองว่า มะรุม เป็นยามหัศจรรย์ที่ใช้ในการรักษาโรค แต่ควรจะมองมันเป็น ผักพื้นบ้าน ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเสียมากกว่า เพราะการศึกษาหลายอย่าง ๆ ยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัย
มะรุม (Moringa) กับความจริงอีกอย่างหนึ่งก็คือ มะรุม ไม่ได้ปลอดภัยไปเสียทีเดียว เพราะในตัวของมะรุมเองนั้นก็ “มีพิษ” เหมือนกัน เนื่องจาก มะรุมเป็นพืชในเขตร้อน สำหรับ “หญิงตั้งครรภ์” หากรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไปก็อาจจะทำให้ “แท้งบุตร” ได้ และยังรวมไปถึง “ผู้ป้วยโรคเลือดก็ไม่ควรรับประทาน” มะรุมเช่นกัน เพราะจะทำให้เม็ดเลือดแตกง่าย
นอกจากนี้ผู้ที่เป็น “โรคเกาต์ก็ไม่ควรรับประทาน” ในปริมาณที่มากจนเกินไป เพราะ มะรุม มีโปรตีนที่ค่อนข้างสูงมาก แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้ความว่ามันจะไม่ปลอดภัย เพราะคนไทยนิยมนำมาประกอบอาหารมานานมากแล้ว ซึ่งสำหรับผู้ที่คิดจะดูแลสุขภาพด้วยการหันไปซื้อมะรุมสกัดแคปซูลมารับประทานนั้น ก็ควรจะต้องระมัดระวังและ “ควรเลือกซื้อมะรุมแคปซูลที่มี อย.” ด้วย
มะรุม (Moringa) ในส่วนของ “ใบ” มะรุมควรรับประทาน ใบสด ๆ ที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป และไม่ควรถูกความร้อนนานเกินไป เพื่อให้ได้ประโยชน์ของสารอาหารอย่างเต็มที่ ซึ่งการใช้ใบมาประกอบอาหารสิ่งที่ต้องระวังก็คือ ไม่ควรให้ “เด็กทารกในวัยเจริญเติบโตถึง 2 ขวบ” รับประทานในปริมาณที่มากเกินไป เพราะ ใบมะรุม มีธาตุเหล็กสูง
หรือ “”เด็กที่อายุ 3-4 ขวบควรรับประทานแต่เพียงเล็กน้อย” และไม่ว่าจะ “วัยไหนก็ตาม ไม่ควรรับประทานในปริมาณมากเกินไป” เพราะอาจจะทำให้ท้องเสียได้ (ไม่ได้เกิดกับทุกคน) ควรเลือกรับประทานอาหารให้หลากหลาย
คุณสมบัติ ของ มะรุม (Moringa)
มะรุม เป็นสมุนไพรไทยที่อยู่ในตำรับยาพื้นบ้าน โดยแต่ละส่วนของต้นมะรุมยังมีสรรพคุณเฉพาะทางที่สามารถใช้เป็นยาได้ ดังนี้ครับ
- “ราก” มีรสเผ็ด หวาน ขม แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ
- “เปลือกจากลำต้น” มีรสร้อน นำมาสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ผ้าห่อทำเป็นลูกประคบนึ่งให้ร้อน นำมาใช้ประคบ แก้โรค ปวดหลัง ปวดตามข้อ ได้เป็นอย่างดี รับประทานเป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้ผายลมหรือเรอ คุมธาตุอ่อน ๆ (ตัดต้นลมดีมาก) แพทย์ตามชนบทจะใช้เปลือกมะรุมสด ๆ ตำบุบพอแตก ๆ อมไว้ข้างแก้ม แล้วดื่มสุราจะไม่รู้สึกเมา
- “กระพี้” แก้ไข้สันนิบาตเพื่อลมพิษ
- “ใบสด” มีวิตามินซีสูง ช่วยแก้เลือดออกตามไรฟัน แก้เยื่อเมือกอักเสบ ใบสดมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ มีแคลเซียม แร่ธาตุและสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก นอกจากนี้ยังมีการค้นพบว่า ใบมะรุมมีโปรตีนสูงกว่านมสด 2 เท่า การกินใบมะรุมตามชนบทของประเทศกำลังพัฒนา และประเทศโลกที่ 3 เป็นการเพิ่มโปรตีนคุณภาพสูงราคาถูกให้กับอาหารพื้นบ้าน
- ดอก ช่วยบำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา ใช้ต้มทำน้ำชาดื่มช่วยให้นอนหลับสบาย
- ฝัก รสหวาน เย็น แก้ไข้หรือลดไข้
- เมล็ด นำเมล็ดมะรุมมาสกัดน้ำมัน สามารถใช้ทำอาหาร รักษาโรคปวดตามข้อ โรคเกาต์ รักษาโรครูมาติสซั่ม และรักษาโรคผิวหนัง แก้ผิวแห้ง ใช้แทนยารักษาผิวให้ชุ่มชื้น รักษาโรคอันเกิดจากเชื้อรา
- เนื้อในเมล็ดมะรุม ใช้แก้ไอได้ดี การรับประทานเนื้อในเมล็ดเป็นประจำสามารถเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกายได้
นอกจากนี้ กากของเมล็ดมะรุมที่เหลือจากการทำน้ำมัน สามารถนำมาใช้ในการกรอง หรือทำน้ำให้บริสุทธิ์เป็นน้ำดื่มได้ กากของเมล็ดมีคุณสมบัติเป็นยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงเป็นอย่างยิ่ง และยังสามารถนำมาทำปุ๋ยต่อได้อีกด้วย
คุณค่าทางโภชนาการของ ใบมะรุมสด (Moringa Leaf) ต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 37 กิโลแคลอรี่
- คาร์โบไฮเดรต 8.53 กรัม
- ใยอาหาร 3.2 กรัม
- ไขมัน 0.20 กรัม
- โปรตีน 2.10 กรัม
- น้ำ 88.20 กรัม
- วิตามินเอ 4 ไมโครกรัม 1%
- วิตามินบี 1 0.0530 มิลลิกรัม 5%
- วิตามินบี 2 0.074 มิลลิกรัม. 6%
- วิตามินบี 3 0.620 มิลลิกรัม 4%
- วิตามินบี 5 0.794 มิลลิกรัม 16%
- วิตามินบี 6 0.120 มิลลิกรัม 9%
- วิตามินบี 9 44 ไมโครกรัม 11%
- วิตามินซี 141.0 มิลลิกรัม 170%
- ธาตุแคลเซียม 30 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุเหล็ก 0.36 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุแมกนีเซียม 45 มิลลิกรัม 13%
- ธาตุแมงกานีส 0.259 มิลลิกรัม 12%
- ธาตุฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม 7%
- ธาตุโพแทสเซียม 461 มิลลิกรัม 10%
- ธาตุโซเดียม 42 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุสังกะสี 0.45 มิลลิกรัม 5%
(อ้างอิงที่ 1-9)
การศึกษาวิจัยและทดลอง มะรุม (Moringa)
มะรุม เป็นพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นอาหารอยู่ในหลายประเทศ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Moringa oleileira Lamk มะรุมมีชื่อเรียกต่างๆ คือ – Drum stick tee – – Hanse redlish trees – Kolor free * ส่วนต่างๆ ที่ใช้รับประทานคือ ใบ ผล ดอก และ สําหรับในประเทศไทยนิยมใช้ฝักมะรุมปรุงอาหารในรูปของแกงส้ม แกงอ่อม
การใช้ประโยชน์ทางยา พบว่า เกือบจะทุกๆ ส่วนของต้นมะรุมมีการนําไปใช้ทางยาในแถบเอเชีย ส่วนที่ใช้ ราก เปลือกต้น กัม (Gum) ใบ ผล (ฝัก) ดอก เมล็ด และน้ํามันจากเมล็ด (อ้างอิงที่ 10)
ในตํารายาพื้นบ้านใช้ใบมะรุมพอกแผลช่วย ห้ามเลือด ทําให้นอนหลับ เป็นยาระบาย ปัสสาวะ และช่วยแก้ไข้ ใช้ส่วนเมล็ดใช้พอกแก้ปวดข้อตามข้อ และ แก้ไข้ (อ้างอิงที่ 11) มีรายงานกล่าวถึงการนําพืชนี้มาใช้เป็นยาครอบจักรวาล Panacea (อ้างอิงที่ 12)
ในภาพรวมของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการวิจัยในระดับเซลล์และ สัตว์ทดลองพบว่า มะรุมมีฤทธิ์ที่น่าสนใจมากมาย เช่น ฤทธิ์ลดความดันโลหิต ต้านการเกิดเนื้องอก ต้านมะเร็ง ลดระดับโคเลสเตอรอล ต้านการเกิดแผลในกระเพาะ อาหาร ป้องกันตับอักเสบ ต้านออกซิเดชัน ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดระดับน้ําตาล และ ฤทธิ์ต้านการอักเสบ
สําหรับงานวิจัยที่น่าสนใจในสัตว์ทดลองมีโดยย่อดังนี้
ฤทธิ์ในการ ลดความดันโลหิต
สารสกัด และเอทานอลของใบมะรุม สารสกัดเอทานอลของผลและฝึก สารใน กลุ่ม Glycosides ในสารสกัดเมทานอลของฝักแห้งและเมล็ด แสดงฤทธิ์ลดความดัน โลหิตในสุนัขและหนูแรท
ฤทธิ์ในการ ต้านการเกิดเนื้องอกและมะเร็ง
สารสําคัญในกลุ่ม Thiocameramantes จากใบ สารสกัดเอทานอลของเมล็ดแสดง ฤทธิ์ทั้งยับยั้งการเจริญเติบโต และทําลายเซลล์มะเร็ง เมื่อป้อนสารสกัดของผลและฝึก ขนาด 5 มก./กก. น้ําหนักตัว มีผลลดจํานวนหนูเม้าส์ที่เป็นมะเร็งผิวหนังได้
ฤทธิ์ในการ ลดระดับคอเลสเตอรอล
สารสกัดน้ําของส่วนใบ มีผลลดระดับโคเลสเตอรอลและลดการเกิด Plaque ในหลอดเลือดของหนูแรกและกระต่ายซึ่งได้รับอาหารชนิดที่มีไขมันสูง การทดสอบไทย ให้กระต่ายที่มีระดับโคเลสเตอรอลสูงและกระต่ายปกติ โดยให้กินผลมะรุมขนาด 200 บก./กก. น้ําหนักตัวต่อวัน นาน 120 วัน เปรียบเทียบกับยาลดไขมันโอวาสแทน 6 ก./กก. น้ําหนักตัวต่อวัน และให้อาหารไขมันมาก
พบว่ามีผลลดระดับโคเลสเตอรอล Phospholipids, Triglycerides. Low density lipoprotein (LDL). Very low density lipoprotein (VLDL). อัตราส่วนระหว่างโคเลสเตอรอลและ phospholipids และ atherogenic Index ในกระต่ายกลุ่มแรกได้
ฤทธิ์ในการ ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
สารสกัดเมทานอลของใบ และสารสกัดเมทานอลจากส่วนดอก สามารถยับยั้งการ เกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูแรท ซึ่งถูกเหนี่ยวนําโดยแอสไพรินได้ ในขณะที่สารสกัดน้ําจากใบมีผลป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วย
ฤทธิ์ในการ ป้องกันตับอักเสบ
สารสกัด 80 % เอทานอลจากใบ สารสกัดน้ำและสารสกัดเอทานอลจากดอก มีฤทธิ์ป้องกันการทำลายเซลล์ตับหนูแรทที่ได้รับ Acetaminophen (ยาพาราเซตามอล) และสารสกัดน้ำจากส่วนราก แสดงฤทธิ์ป้องกันการทำลายเซลล์ตับหนูแรทจากการเหนี่ยวนำโดยยาไรแฟมพิซิน
ฤทธิ์ในการ ต้านและกำจัดอนุมูลอิสระ
สารสกัดน้ำ สารสกัด 80 % เมทานอล และสารสกัด 70 % เอทานอลจากส่วนใบผลแห้งบดหยาบและสารสกัดน้ำจากเมล็ด และสารในกลุ่ม Phenol จากส่วนรากสามารถต้านและกำจัดอนุมูลอิสระได้
ฤทธิ์ในการ ต้านเชื้อแบคทีเรีย
น้ำคั้นสดของใบ สารประกอบคล้าย Pterygospermin ของดอก สารสกัดอะซีโตนและสารสกัดเอทานอลจากเมล็ด สารสกัดน้ำจากเมล็ด น้ำคั้นจากเปลือกต้น สารสกัดเอทานอลของเปลือกราก และสาร athomin จากเปลือกราก มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด นอกจากนี้ยังมีการใช้สารสกัดน้ำมันจากเมล็ด ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับใช้กับตา โดยพบว่าใช้ได้ดีกับ Pyodermia ในหนูเม้าส์ ที่มีสาเหตุมาจาก Staphylo – coccus aureus
ฤทธิ์ในการ ลดน้ำตาลในเลือด
ผงใบแห้ง สารสกัด 95% เอทานอล และเถ้าจากเปลือกต้น มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูแรทปกติ และหนูที่เป็นเบาหวาน ส่วนสารสกัดเมทานอลจากเปลือกรากแสดงฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในหนูเม้าส์
ฤทธิ์ในการ ต้านการอักเสบ
ชาชงน้ำร้อน และสารสกัดเมทานอลจากราก มีฤทธิ์ยับยั้งอาการบวมที่อุ้งเท้าหลังของหนูแรทและหนูเม้าส์ ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยคาราจีแนน ในขณะที่เมล็ดแก่สีเขียว สารสกัดเอทานอลจากเมล็ดแห้ง และสารสกัดเอทานอลจากเมล็ดมีผลลดการอักเสบของทางเดินหายใจในหนูตะเภา ซึ่งยืนยันถึงการใช้มะรุมในทางพื้นบ้าน เพื่อบำบัดอาการผิดปกติจากภูมิแพ้ เช่น หอบหืด สารสกัดเอทานอลจากเมล็ด สามารถลดการบวมของอุ้งเท้าบริเวณข้อของหนูแรท และพบว่าสารสกัดมะรุมมีผลลด Oxidative Stress ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับฤทธิ์ต้านการอักเสบด้วย (อ้างอิงที่ 11)
นอกจากฤทธิ์ดังกล่าวข้างต้น มีงานวิจัยจากต่างประเทศหลายงานวิจัยรองรับว่า มะรุมมีสารอาหารต่างๆ มากมาย เช่น เป็นแหล่งของโปรตีน มีวิตามิน เบต้า- แคโรทีน กรดอะมิโน อีกทั้งยังเป็นแหล่ง ของแคลเซียม เหล็ก และสังกะสี (อ้างอิงที่ 13-15) นอกจากนี้แล้ว ยังพบว่ามะรุมมีสาร Polyphenol ซึ่งมีคุณสมบัติในการด้าน อนุมูลอิสระด้วย (อ้างอิงที่ 16)
สําหรับความเป็นพิษของใบมะรุมนั้น มีการรายงานความเป็นพิษเฉียบพลัน (Acute Todcity) ของมะรุมในระดับสัตว์ทดลองว่า ผงใบมะรุมขนาด 5 กรัมต่อ นํ้าหนักตัว 1 กิโลกรัม ไม่ทําให้เกิดพิษเฉียบพลัน (อ้างอิงที่ 17) หรืออาจจะเปรียบเทียบ ได้ว่า น้ําหนักตัวที่ 50 กิโลกรัม การได้รับผงใบมะรุมขนาด 25 กรัม ไม่ทําให้เกิดพิษ เฉียบพลัน
ข้อแนะน่าในการประกาน
แม้ว่าจะเป็นที่นิยมรับประทานกันมาเป็นเวลานาน หรือเป็นอาหารสุขภาพที่นิยม รับประทานกันในคนไทยมาร่วมปีแล้ว แต่เนื่องจากมะรุมยังไม่มีงานวิจัยความเป็น พิษระยะยาวในสัตว์ทดลอง คําแนะนําคือ ควรมีระยะเวลาพักในการรับประทานบ้าง
คือ อาจจะไม่รับประทานต่อเนื่องทุกวัน ควรมีระยะพักต่อเดือนประมาณ 5-7 วัน
ประโยชน์ของ มะรุม (Moringa)
- ลดระดับโคเลสเตอรอล
- ลดความดันโลหิต
- ลดระดับน้ําตาล
- ต้านการเกิดเนื้องอก
- ต้านมะเร็ง
- ต้านการเกิดแผล ในกระเพาะอาหาร
- ต้านเชื้อแบคทีเรีย
- ต้านการอักเสบ
- ต้านอนุมูลอิสระ
- ป้องกันตับอักเสบ
ข้อห้าม! ทางการแพทย์ ของ มะรุม (Moringa)
- เด็ก และสตรีมีครรภ์ เป็นข้อห้ามสําหรับสมุนไพรทุกชนิดอยู่แล้ว
- ผู้ป่วยโรคเลือด จีซิกพีดี (960) (โรคเลือดอื่นๆ ไม่ได้ห้าม) โรคนี้จะห้ามรับประทานถั่วปากอ้า ซึ่งในมะรุมมีสารบางชนิดคล้ายในถั่วปากอ้าจึงควรห้ามรับประทานไปด้วย
- สตรีที่อาจจะตั้งครรภ์ หรือมีศักยภาพที่จะตั้งครรภ์ เช่น อยู่ในวัย และไม่ได้รับประทานยาคุมกําเนิด เป็นต้น เพราะมีงานวิจัยว่า ในปริมาณที่สูงทําให้เกิดการแท้งในหนูทดลองได้
- ผู้ป่วยโรค ตับ ตับอักเสบ หรือตับแข็ง เป็นข้อห้ามสําหรับสมุนไพรทุกชนิดอยู่แล้ว
- ผู้ที่รับประทานยาต้านไวรัส เอชไอวี เพราะอาจจะมีผลรบกวนระดับยาได้
วิตามินซี (Vitamin C)
“วิตามิน ซี (Vitamin C)” เป็น “สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant)” ที่ดี มีส่วนช่วยในการสร้าง เนื้อเยื่อ “คอลลาเจน (Collagen)” จึงช่วยลดการเกิดริ้วรอยและช่วยป้องกันอันตรายจากรังสียูวีจากแสงแดด นอกจากนี้ยังสามารถลดภาวะการเกิดผิวหมองคล้ําได้อย่างนัยสําคัญ จึงเป็นส่วนสําคัญที่ช่วยให้ผิวพรรณแลดูกระจ่างใส และมีสุขภาพดี
ประโยชน์ของ วิตามินซี (Vitamin C) ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
มีบทบาทในระบบ “ปฏิกิริยาไฮดร๊อกซิเลชั่น (Hydroxylation)” ของ “โพรลีน (Proline)” เพื่อสร้าง “คอลลาเจน (Collagen)” ซึ่งเป็นองค์ประกอบของกระดูก กระดูกอ่อน ฟัน และผนังเส้นเลือด ช่วยเพิ่มการดูดซึมของเหล็ก ถ้าขาดจะมีเลือดออกตามไรฟัน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เหงือกบวม ฟันหลุดง่าย
- มีส่วนช่วยในการทําหน้าที่ตามปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
- มีส่วนช่วยในกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ
- มีช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง
- มีส่วนช่วยในการสร้างคอลลาเจนเพื่อการทํางานตามปกติของผิวหนัง
ข้อมูลอ้างอิง
- วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
- ภญ.สุภาพร ปิติพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี
- นายแพทย์สุรวุฒิ ปรีชานนท์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคกระดูกและข้อ
- กองโภชนาการ กรมอนามัย
- ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหิดล แชนแนล
- สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- มะรุม : พืชสมุนไพรหลากประโยชน์, จุลสารข้อมูลสมุนไพร 26(4): 2552
- มะรุม : พืชที่ทุกคนอยากรู้, สํานักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลhttp://www.medplant.mahidol.ac.th/document/moringa.asp
- Moringa oleifera (Drumstick) : An Overview. PHCOG REV 2008; 2 (4) : 7-13
- Energy and micronutrient composition of dietary and medicinal wild plants consumed during drought. Study of rural Fulani, northeastern Nigeria. Int J Food Sci Nutr. 2000 May:51(3): 195-208.
- Nutrient content of the edible leaves of seven wild plants from Niger. Plant Foods Hum Nutr. 1998;53(1):57-69.
- Moringa oleifera: a food plant with multiple medicinal uses. Phytother Res. 2007 Jan 21(1):17-25,
- Evaluation of the polyphenol content and antioxidant properties of methanol extracts of the leaves, stem, and root barks of Moringa oleifera Lam. J Med Food. 2010 Jun;13(3):710-6.
เรียบเรียงและจัดทำโดย Sirikul Shop
รหัสสินค้า : 41019
เลขที่จดแจ้งผลิตภัณฑ์ : 13-1-03440-1-0105
ขนาด กxยxส : 9x2x12.5
น้ำหนัก/กิโลกรัม : 0.07
กิฟฟารีน มะรุม-ซี (60 แคปซูล)
ส่วนประกอบที่สำคัญโดยประมาณใน 1 แคปซูล : |
ใบมะรุมชนิดผง 80.22 % (450 มก.) |
กรดแอสคอร์บิก 2.67% (15 มก.) (ให้วิตามินซี 15 มก.) |
วิธีใช้ : รับประทานครั้งละ 1-2 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอน
คำเตือน : อ่านคำเตือนในฉลากก่อนบริโภค ใม่มิผลในการป้องกันหรือรักษาโรค
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์