,

อาหารเสริม วิตามินซี วิตามินบี1 วิตามินบี 6 วิตามินบี12 และ กรดโฟลิค ชนิดแคปซูล กิฟฟารีน นูทริ โฟลิค (60 แคปซูล)

180฿

ตัวช่วย ลดอาการอ่อนเพลีย ป้องกันโลหิตจาง และเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

กิฟฟารีน นูทริ โฟลิก บำรุงเลือด บำรุงร่างกาย มีส่วนสำคัญต่อกระบวนการสร้าง เม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง ป้องกันความผิดปกติของทารกในครรภ์ จำเป็นต่อการแบ่งตัวของเซลล์ บำรุงสุขภาพ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ดูแลสุขภาพผู้ป่วยธาลัสซีเมีย และพาหะ ธาลัสซีเมีย

Availability: มีสินค้าอยู่ 20

อาหารเสริม วิตามินซี วิตามินบี1 วิตามินบี 6 วิตามินบี12 และ กรดโฟลิค ชนิดแคปซูล กิฟฟารีน นูทริ โฟลิค (60 แคปซูล)

Giffarine Nutri Folic : Dietary Dupplements Vitamin C Vitamin B1 Vitamin B6 Vitamin B12 and Folic Acid Capsules (60 capsules)

ตัวช่วย ลดอาการอ่อนเพลีย ป้องกันโลหิตจาง และเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

กิฟฟารีน นูทริ นูทริ โฟลิค บำรุงเลือด บำรุงร่างกาย มีส่วนสำคัญต่อกระบวนการสร้าง เม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง ป้องกันความผิดปกติของทารกในครรภ์ จำเป็นต่อการแบ่งตัวของเซลล์ บำรุงสุขภาพ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ดูแลสุขภาพผู้ป่วยธาลัสซีเมีย และพาหะ ธาลัสซีเมีย

  • วิตามินที่เหมาะสำหรับทุกเพศ ทุกวัย
  • บำรุงโลหิต ลดการอ่อนเพลีย กรดโฟลิก เป็นหนึ่งในกลุ่มวิตามินบี 9 ที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย
  • โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตรนั้นจำเป็นต้องรับประทานกรดโฟลิกมากกว่าคนทั่วไปถึง 2 เท่า
  • เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงของทารก

กิฟฟารีน นูทริ โฟลิค กับ 4 ข้อดีที่ต้องบอกต่อ

  1. มีโฟลิก 200 ไมโครกรัมต่อแคปซูล สูงสุดที่อย.ให้ใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  2. วัตถุดิบนำเข้าจาก DSM ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
  3. วัตถุดิบได้รับการรับรองจาก Halal
  4. ผลิตจากโรงงานที่มีมาตรฐาน GMP และ Halal

นอกจาก กรดโฟลิค (Folic Acid) ก็ยังมีอีก 4 วิตามินสุดเจ๋ง!

  • วิตามินซี (Vitamin C)
  • วิตามินบี1 (Vitamin B1)
  • วิตามินบี 6 วิตามินบี 6 (Vitamin B6)
  • วิตามินบี12 วิตามินบี 12 (Vitamin B12)

โรคโลหิตจาง มีสาเหตุจากการขาดสารอาหารนั้นมักพบได้ 3 ชนิด

  1. โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
  2. ขาดกรดโฟลิก
  3. และขาดวิตามินบี 12

ปริมาณที่แนะนำต่อวันในการรับประทานกรดโฟลิก

  • คนทั่วไป ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวัน คือ 180-200 ไมโครกรัม
  • หญิงตั้งครรภ์ ควรเพิ่มขนาดที่รับประทานต่อวันเป็น 2 เท่า คือ 360-400 ไมโครกรัม
  • หญิงให้นมบุตร ควรรับประทาน 280 ไมโครกรัมในช่วงหกเดือนแรก และ 260 ไมโครกรัมในช่วง 6 เดือนหลัง

กรดโฟลิก (Folic Acid) คือ อะไร?

“โฟเลต (Folate)” หรืออีกรูปแบบหนึ่งที่รู้จักคือ “กรดโฟลิก (Folic Acid)” และ “วิตามินบี9 (vitamin B9)” เป็นวิตามินบีชนิดหนึ่ง (อ้างอิงที่ 1)

สามารถพบได้ใน ผักสดใบเขียว ไม่ว่าจะเป็น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักปวยเล้ง บล็อกโคลี่ ถั่วลันเตา หน่อไม้ฝรั่ง ผักโขมฝรั่ง และยังพบในยีสต์ ถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วลิสง ส้ม มะนาว มะเขือเทศ อะโวคาโด เมล็ดทานตะวัน ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ลูกเดือย บีทรูท ตับ ไข่ นม แต่ในเนื้อสัตว์จะมีสารโฟเลตต่ำ

มีปริมาณที่แนะนำต่อวันอยู่ที่ 400 ไมโครกรัม (อ้างอิงที่2) และมักใช้เป็นอาหารเสริมในช่วงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (NTDs) ในทารก (ซึ่งรวมการไม่มีสมองใหญ่ สมองโป่ง กระดูกสันหลังโหว่) และยังใช้รักษาภาวะเลือดจางจากการขาดกรดโฟลิก (อ้างอิงที่ 1)

กว่า 50 ประเทศเสริมกรดโฟลิกในอาหารเพื่อเป็นมาตรการลดอัตรา NTDs ในประชากร (อ้างอิงที่ 3,4 ) การเสริมกรดโฟลิกในอาหารเป็นประจำสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจเล็กน้อย (อ้างอิงที่ 5 ) เป็นวิตามินที่สามารถใช้ทานหรือฉีดก็ได้ (อ้างอิงที่ 1)

ลองทำความเข้าใจกันอีกที “โฟเลต คือ กรดโฟลิก และ วิตามินบี9” หรือ “กรดโฟลิก และ วิตามินบี9 คือ โฟเลต” งงไหมครับเนี่ย! งั้นเอาแบบบ้านๆ “โฟเลต เป็น วิตามินบี ชนิดหนึ่ง” ง่ายกว่าไหมครับ

การศึกษาวิจัย กรดโฟลิก (Folic Acid)

“กรดโฟลิค (Folic Acid) มีความสําคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง” ช่วยในการสร้างส่วนประกอบสําคัญของพันธุกรรม (DNA) และมีความจําเป็นต่อการแบ่งตัว ของเซลล์ มีส่วนช่วยในกระบวนการเผาผลาญโปรตีน เมื่อได้รับกรดโฟลิคร่างกายจะเปลี่ยน โครงสร้าง กรดโฟลิคให้กลายเป็น โฟเลต

ซึ่งเป็นวิตามินที่มีความจําเป็นต่อร่างกาย ช่วยให้ ร่างกายสังเคราะห์ และซ่อมแซมพันธุกรรมหรือ ดี-เอ็น-เอ (DNA) ซึ่งมีผลต่อเนื่อง ไปถึงการแบ่งเซลล์และการเจริญเติบโตของร่างกาย

จึงมีความสําคัญอย่างยิ่งในเด็กทารก หญิงตั้งครรภ์ ส่วนในเด็กทั่วไป วัยรุ่น หรือผู้ใหญ่ ก็ยังมีความจําเป็นต้องได้รับโฟเลต อย่างสม่ําเสมอ เพื่อช่วยให้ร่างกายมีสุขภาพที่แข็งแรง และใช้ในการสร้างเม็ดเลือดแดงรวมทั้งป้องกันและรักษาภาวะโลหิตจางอีกด้วย

กรดโฟลิก (Folic Acid) กับหญิงตั้งครรภ์

ตามปกติแล้วกรดโฟลิคจะได้รับจากอาหารจําพวกไข่แดง ตับ ผักใบเขียวผลไม้รสเปรี้ยว ถั่ว แต่ปริมาณกรดโฟลิคที่ได้จากอาหารนั้นไม่เพียงพอต่อ ความต้องการของร่างกาย “หญิงที่ตั้งครรภ์จึงจําเป็นที่จะต้องได้รับเสริมเข้าไป” เพื่อใช้ในการพัฒนาระบบประสาท และป้องกันการเกิดความผิดปกติของกระดูก สันหลัง (เช่น Neural tube defect, Spina bifida) ของทารกในครรภ์

จากการวิจัยพบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่รับประทานกรดโฟลิคตามที่ แพทย์แนะนํา สามารถลดโอกาสการเกิดความผิดปกติของ กระดูกสันหลังของทารกในครรภ์ลงถึง 50% และมีงานวิจัยระบุว่า การรับประทานโฟลิควันละ 400 ไมโครกรัม ในช่วงระยะเวลา ที่ตั้งครรภ์ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะคลอดก่อนกําหนดได้

กรดโฟลิก (Folic Acid) กับภาวะโลหิตจาง

“ภาวะโลหิตจาง” คือ ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดงหรือฮีโมโกลบิน (ส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดง) ซึ่งทําหน้าที่ในการนําพาออกซิเจนไปสู่เซลล์ ต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกาย ทําให้เนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายได้รับออกซิเจนมาหล่อเลี้ยงอย่างเพียงพอ เมื่อสิ่งเหล่านี้ทําหน้าที่ ผิดปกติ จะส่งผลให้ผู้ป่วยอยู่ในภาวะเหนื่อยง่าย ซึ่งการขาดกรดโฟลิคก็เป็น หนึ่งในสาเหตุที่ทําให้เกิดภาวะเลือดจางได้

ทั้งนี้ยังสามารถพบภาวะเลือดจางจากการขาดโฟลิคได้ ในกรณีต่อไปนี้

  • ในผู้ป่วยที่มีภาวะท้องเสียเรื้อรัง ทําให้เกิดความผิดปกติต่อการดูดซึมสารอาหาร
  • ผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจํา โดยแอลกอฮอล์จะเข้าไปขัดขวางการดูดซึมและรบกวนกระบวนการเผาผลาญของกรดโฟลิค
  • ในสตรีตั้งครรภ์ เนื่องจากร่างกายต้องการโฟลิคในปริมาณที่มากขึ้น เพื่อใช้ในการสร้างอวัยวะของทารกในครรภ์

(อ้างอิงที่ 6-10)

กรดโฟลิก (Folic Acid) กับความเสี่ยงภาวะพิการแต่กำเนิด

เมื่อคุณ “แม่ตั้งครรภ์” ก็ย่อมมีความต้องการให้ลูกที่กำลังจะเกิดมามีความสมบูรณ์ทางร่างกาย ดังนั้นสิ่งที่ควรทำมากที่สุดคือ ดูแลดูเองให้ดี ทานอาหารที่มีประโยชน์ บำรุงครรภ์ด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญพัฒนาของเซลล์อวัยวะในทารก โดยหนึ่งในสารอาหารที่จำเป็นก็คือ “สารโฟลิก” ที่คุณแม่ควรเสริมสร้างเพื่อต้านทานความพิการของทารกแต่กำเนิด

  1. โฟลิก เป็นส่วนสำคัญในการสร้างเซลล์ของมนุษย์ทุกคน
  2. ในทารก โฟลิกมีความสำคัญในการสร้างความเจริญของท่อหลอดประสาทซึ่งเป็นอวัยวะตั้งต้น ที่จะพัฒนาไปเป็นไขสันหลัง สมองและเส้นประสาทตามอวัยวะต่าง ๆ
  3. การเสริมโฟลิกจะช่วยลดความพิการของท่อหลอดประสาทในทารก
  4. การเสริมโฟลิกในคุณแม่ ควรเริ่มสะสมตั้งแต่ยังไม่ตั้งครรภ์หรือทันทีที่วางแผนมีบุตร
  5. เนื่องจากในทารกจะมีการสร้างอวัยวะต่าง ๆ ตั้งแต่อายุ 2 สัปดาห์ในครรภ์มารดา ขณะที่คุณแม่บางท่านยังไม่ทันทราบด้วยซ้ำว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์ในขณะที่มีอายุครรภ์ 2 สัปดาห์
  6. ดังนั้น หากคุณแม่ทานโฟลิกหลังจาก 2 สัปดาห์ไปแล้ว แทบจะไม่มีประโยชน์ในการลดความเสี่ยงต่อภาวะพิการของทารกเลย
  7. การสร้างเสริมโฟลิกสามารถทำได้จากการรับประทาน ผักใบเขียว ไข่ นม ถั่ว ซึ่งมีโฟลิกรวมอยู่หรือทานได้จากวิตามินที่อยู่ในรูปแบบของยา ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป

(อ้างอิงที่ 11)

ประโยชน์ของ กรดโฟลิก (Folic Acid)
  • มีส่วนสําคัญต่อกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดง
  • ป้องกันโรคโลหิตจาง
  • ป้องกันความผิดปกติของทารกในครรภ์
  • จําเป็นต่อการแบ่งตัวของเซลล์
  • บำรุงสุขภาพ
  • ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ
  • ดูแลสุขภาพผู้ป่วยธาลัสซีเมีย และพาหะธาลัสซีเมีย
ข้อแนะนำในการรับประทานกรดโฟลิค
  • ทุกๆ คนควรรับประทานกรดโฟลิค และวิตามินบี 6 ในปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน ขนาดที่แนะนำ คือ กรดโฟลิค 400 ไมโครกรัม และวิตามินบี 6 2-10 ไมโครกรัม จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจวายเฉียบพลันได้ถึง 42%
  • ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำควรรับประทานกรดโฟลิคเพิ่มขึ้น
  • การรับประทานวิตามินซีในปริมาณสูงจะเพิ่มการขับกรดโฟลิคออกจากร่างกาย ดังนั้นผู้ที่รับประทานวิตามินซีมากกว่า 2 กรัมต่อวัน ควรรับประทานกรดโฟลิคเพิ่มควบคู่ไปด้วย
  • หากกำลังรับประทานยากันชัก ไดแลนติน (Dilantin) ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamides) ฟีโนบาร์บิทอล (Phenobarbital) หรือแอสไพริน (Aspirin) แนะนำให้รับประทานกรดโฟลิคเพิ่ม
  • การรับประทานกรดโฟลิค 1-5 มิลลิกรัมทุกวัน ในระยะเวลาหนึ่ง ช่วยแก้ปัญหาสีผิวไม่สม่ำเสมอได้
  • ผู้ที่กำลังป่วย หรือร่างกายกำลังต่อสู้กับโรคภัยอยู่ ควรรับประทานกรดโฟลิคเพิ่ม เพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงขึ้น

กรดโฟลิค กับ ธาตุเหล็ก คู่หู สร้างเม็ดเลือดแดง

ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง และกรดโฟลิคช่วยในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง ดังนั้นการรับประทานกรดโฟลิคร่วมกับธาตุเหล็ก จึงช่วยป้องกันและรักษาโลหิตจางที่มีสาเหตุมาจาก การขาดธาตุเหล็กและกรดโฟลิคได้ (อ้างอิงที่ 12)

กรดโฟลิค กับ วีทกราส คู่จิ้น ป้องกันโลหิตจางและธาลัสซีเมีย

วีทกราส หรือต้นอ่อนข้าวสาลีจะช่วยเพิ่มปริมาณฮีโมโกลบิน ทําให้ลดจํานวนครั้งในการถ่ายเลือด และลดปริมาณการให้เม็ดเลือดแดงเข้มข้น ดังนั้นการรับประทานกรดโฟลิคร่วมกับวีทกราส จึงส่งผลดีต่อผู้ป่วยโรคโลหิตจางและธาลัสซีเมียได้ (อ้างอิงที่ 13)

กรดโฟลิค กับ วิตามินบี 6 และบี 12 3 พลัง ปกป้องดวงตา

การรับประทานกรดโฟลิคร่วมกับวิตามินบี 6 และปี 12 จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อมได้ (อ้างอิงที่ 13)

กรดโฟลิค กับ วิตามินบี 6 คู่แท้ ดูแลหัวใจ

การรับประทานกรดโฟลิคร่วมกับวิตามินบี 6 จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจวายเฉียบพลันได้ร้อยละ 42 (อ้างอิงที่ 12)

วิตามินซี (Vitamin C)

“วิตามิน ซี (Vitamin C)” เป็น “สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant)” ที่ดี มีส่วนช่วยในการสร้าง เนื้อเยื่อ “คอลลาเจน (Collagen)” จึงช่วยลดการเกิดริ้วรอยและช่วยป้องกันอันตรายจากรังสียูวีจากแสงแดด นอกจากนี้ยังสามารถลดภาวะการเกิดผิวหมองคล้ําได้อย่างนัยสําคัญ จึงเป็นส่วนสําคัญที่ช่วยให้ผิวพรรณแลดูกระจ่างใส และมีสุขภาพดี

ประโยชน์ของ วิตามินซี (Vitamin C) ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

มีบทบาทในระบบ “ปฏิกิริยาไฮดร๊อกซิเลชั่น (Hydroxylation)” ของ “โพรลีน (Proline)” เพื่อสร้าง “คอลลาเจน (Collagen)” ซึ่งเป็นองค์ประกอบของกระดูก กระดูกอ่อน ฟัน และผนังเส้นเลือด ช่วยเพิ่มการดูดซึมของเหล็ก ถ้าขาดจะมีเลือดออกตามไรฟัน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เหงือกบวม ฟันหลุดง่าย

  1. มีส่วนช่วยในการทําหน้าที่ตามปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
  2. มีส่วนช่วยในกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ
  3. มีช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง
  4. มีส่วนช่วยในการสร้างคอลลาเจนเพื่อการทํางานตามปกติของผิวหนัง
ประโยชน์ของ วิตามินบี 1 (Vitamin B1) หรือ ไทอะมีน (Thiamine)

“วิตามินบี 1 (Vitamin B1) หรือ ไทอะมีน (Thiamine)” มีความจำเป็นต่อ “ระบบเผาผลาญอาหารและระบบประสาทของร่างกาย”

ถ้าขาดจะเป็นโรคเหน็บชา อาการสำคัญจะเกี่ยวข้องกับระบบประสาท ระบบหัวใจและหลอดเลือดโดยทางระบบประสาทจะมีอาการชาตามมือตามเท้า ตากระตุก แขนขาอ่อนแรง ส่วนอาการทางสมองพบว่า เนื้อสมองจะถูกทำลาย ผู้ป่วยจะมีอาการความจำเสื่อม สำหรับทางระบบหัวใจและหลอดเลือดพบว่าหัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น หัวใจมีขนาดโตขึ้น

ประโยชน์ของ วิตามินบี 6 (Vitamin B6) หรือ ไพริดอกซีน ไฮโดรคลอไรด์ (Pyridoxine Hydrochloride)

“วิตามินบี 6 (Vitamin B6) หรือ ไพริดอกซีน ไฮโดรคลอไรด์ (Pyridoxine Hydrochloride)” มีความสำคัญต่อ “ปฏิกิริยาทั้งหมด ในกระบวนการที่เกี่ยวกับปฏิกิริยาทางชีวเคมี” (Metabolism) ของกรดอะมิโน (สร้างและสลายโปรตีน)

มีบทบาทในการสร้างเม็ดเลือดแดง ถ้าขาดจะมีอาการอ่อนเพลีย ชาตามปลายมือ ปลายเท้า โลหิตจาง รวมถึงอาการทางประสาท เช่น สับสน ซึมเศร้า และชัก

ประโยชน์ของ วิตามินบี 12 (Vitamin B12) หรือ ไซยาโนโคบาลามิน (Cyanocobalamin)

“วิตามินบี 12 (Vitamin B12) หรือ ไซยาโนโคบาลามิน (Cyanocobalamin)” มีความจำเป็นต่อ “กระบวนการที่เกี่ยวกับปฏิกิริยาทางชีวเคมี” (Metabolism) ของคาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน มีบทบาทในการเจริญและแบ่งตัวของเซลล์รวมทั้งการสังเคราะห์ Myelin (สารหุ้มเส้นประสาท) ด้วย

มีความสำคัญต่อการสร้างเซลล์ผิว โดยเฉพาะเยื่อบุทางเดินอาหาร ถ้าขาดจะมีผลต่อระบบทางเดินอาหาร โลหิตจาง ชาตามมือและเท้า ถ้าขาดมากจะมีอาการสับสน และประสาทหลอนได้

เอกสารอ้างอิง

  1. https://www.drugs.com/monograph/folic-acid.html
  2. “Changes to the Nutrition Facts Panel – Compliance Date”. US Department of Agriculture. สืบค้นเมื่อ 9 August 2018.
  3. Bailey, Lynn B. (2009). Folate in Health and Disease, Second Edition (ภาษาอังกฤษ). CRC Press. p. 198. ISBN 9781420071252. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กันยายน 2017.
  4. Obeid R, Herrmann W (October 2012). “The emerging role of unmetabolized folic acid in human diseases: myth or reality?”. Current Drug Metabolism. 13 (8): 1184–95. doi:10.2174/138920012802850137. PMID 22746304.
  5. Li Y, Huang T, Zheng Y, Muka T, Troup J, Hu FB (August 2016). “Folic Acid Supplementation and the Risk of Cardiovascular Diseases: A Meta-Analysis of Randomized Controlled Trials” (PDF). Journal of the American Heart Association. 5 (8): e003768. doi:10.1161/JAHA.116.003768. PMC 5015297. PMID 27528407.
  6. ภก.อภัย ราษฎรวิจิตร โฟลิก กรดโฟลิก.http://www.haamor.com/th/กรดโฟลิก.html วันที่สืบค้น 25 มกราคม 2559
  7. http://www.drugs.com/dosage/folic-acid.html วันทีสืบค้น 25 มกราคม 2559
  8. https://en.wikipedia.org/wiki/Folic_acid.html วันทีสืบค้น 25 มกราคม 2559
  9. Goh YI, Koren G. (2008). “Follic acid in pregnancy and fetal outcomes. J Obstet Gynaecol 28 (1): 3-13.
  10. Hathcock JN. (1997). “Vitamins and minerals: efficacy and safety. Am. J. Clin. Nutr. 66 (2): 427-37.
  11. อ. พญ.อรวิน วัลลิภากร สาขาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นารีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  12. หนังสือวิตามินไบเบิล (ดร.เอิร์ล มินเดลล์)
  13. Journal of Clinical Oncology
  14. Folic Acid (https://www.webmd.com/vitamins…)

เรียบเรียงและจัดทำโดย Sirikul Shop

รหัสสินค้า : 82036

เลขที่จดแจ้งผลิตภัณฑ์ : 13-1-03337-1-0123

ขนาด กxยxส : 4.5×7.0

น้ำหนัก/กิโลกรัม : 0.05

กิฟฟารีน นูทริ โฟลิก (60 แคปซูล)

ส่วนประกอบที่สำคัญโดยประมาณใน 1 แคปซูล (450 มิลลิกรัม):
วิตามินซี 60 มก.
วิตามินบี 6 2 มก.
วิตามินบี 12 0.1% 2 มก.(ให้วิตามินบี 12 2 มคก.)
วิตามินบี 1 1.5 มก.
กรดโฟลิค 0.2 มก.
วิธีใช้
รับประทานวันละ 1 แคปซูล พร้อมอาหาร คำเตือน : อ่านคำเตือนในฉลากก่อนบริโภค ไม่มีผลในการป้องกันหรือรักษาโรค

 

 

Shopping Cart