อาหารเสริม พลูคาวสกัด ผสม เบต้า-กลูแคน ชนิดแคปซูล กิฟฟารีน เบต้า พลูคาว (30 แคปซูล)
Giffarine Beta Plu Kao : Dietary Supplement Houttuynia Cordata Extract Mixed with Beta-Glucan Capsule Type (30 capsules)
ตัวช่วย เสริมภูมิคุ้มกัน ลดอาการ หอบหืด ภูมิแพ้
พลูคาวมีสารประกอบฟีนอลที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เช่น สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) อัลคาลอยด์ (Alkaloid) และสารเควอซิทิน (Quercetin) ซึ่งอาจมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการทำลายเซลล์ในร่างกาย และยับยั้งการอักเสบได้
มารู้จัก “พลูคาว” กันเถอะ
พลูคาว (Houttuynia cordata Thunb)
“พลูคาว” (หรือ คาวทอง) เป็น พืชผักพื้นบ้านของไทย และประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ประเทศ อินเดีย จีน เกาหลี และญี่ปุ่น พลูคาวมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Houttuynia cordata Thunb มีชื่อท้องถิ่นได้ หลายชื่อ เช่น พลูคาว ผักคาวตอง ผักก้านตอง ในประเทศไทยพบมาก ทางภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยภาคเหนือและอีสาน ใช้เป็นผักจิ้มน้ําพริก หรือกินกับลาบ
ปกติแล้วรอบๆ ตัวเรามีเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมมากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นชนิดที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ หรือชนิดที่เกาะอยู่กับตัวมนุษย์ สัตว์ และสิ่งของ หรืออยู่ในอาหารที่เรารับประทานเข้าไป เชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ จะจู่โจมร่างกายของพวกเราตลอดเวลา แต่เหตุที่เราไม่เจ็บป่วยก็เพราะร่างกายมีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงคอยช่วยต่อสู้
ภูมิคุ้มกันภายในตัวเราอ่อนกําลังลงแล้ว เราก็จะแสดงอาการเจ็บป่วยทันที ดังนั้นผู้ที่มีปัญหาภูมิคุ้มกันภายในบกพร่อง มักจะป่วยด้วยโรคต่างๆและอาจเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ขณะเดียวกันถ้าภูมิคุ้มกันไวเกิน ก็จะป่วยไปอีกแบบ ได้แก่ เป็นโรคภูมิแพ้ เช่น ลมพิษ หอบหืด จาม คัดจมูก น้ํามูกไหล รวมถึง โรคที่ร้ายแรงมากขึ้นไปอีก เช่น โรค SLE (เอส แอล อี หรือ โรคพุ่มพวง) และรูมาตอยด์ เป็นต้น
ร่างกายมนุษย์มีระบบการป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายเบื้องต้น เช่น ผิวหนังทําหน้าที่ป้องกันการผ่านของเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจากการสัมผัส ขนจมูกและขนตาทําหน้าที่ดักจับสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้าสู่ร่างกาย แต่หาก มีเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่สามารถผ่านเข้ามาในร่างกาย หรือที่เรียกว่า “แอนติเจน (Antigen)” ร่างกายจะมีระบบภูมิคุ้มกันทํางานร่วมกันหลายแบบ
“พลูคาว” (หรือ คาวทอง) เป็นผักพื้นบ้านที่นิยมรับประทานใบสดแกล้มอาหาร โดยเฉพาะอาหารเหนือและอีสาน เช่น ลาบ ก้อย และแจ่ว นอกจากนั้น ยังนำมาสกัดเป็นอาหารเสริมต่าง ๆ เพราะเชื่อกันว่าพลูคาวมีสรรพคุณรักษาหรือป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน เป็นต้น
“พลูคาว” เป็น สมุนไพรพื้นเมือง ที่ได้รับความนิยมในแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มานาน ในประเทศไทยมักพบได้มากในภาคเหนือ ส่วนในประเทศจีน พลูคาวเป็นพืชสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้รักษาอาการไอ โรคปอดบวม และโรคหลอดลมอักเสบ
“พลูคาว” มี สารประกอบฟีนอล ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เช่น สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) อัลคาลอยด์ (Alkaloid) และสารเควอซิทิน (Quercetin) ซึ่งอาจมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการทำลายเซลล์ในร่างกาย และยับยั้งการอักเสบได้แต่ถ้าเมื่อใดที่โดยเซลล์ที่ทําหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสร้างมาจากสเตมเซลล์ (Stem cells) ที่อยู่ในไขกระดูก เช่น
- เซลล์ที่ทําหน้าที่จับกินสิ่งแปลกปลอม เช่น Macrophage, Monocyte,Neutrophil
- เซลล์เม็ดเลือดขาวขนาดเล็กที่เรียกว่า ลิมโฟไซท์ (Lymphocyte) แบ่งเป็น B-cells ทําหน้าที่ผลิตแอนติบอดี้ (Antibody)
- T-cels ทําหน้าที่ตอบสนองทางด้านเซลล์ เพื่อกําจัดสิ่งแปลกปลอม
หรือเชื้อโรค - เซลล์ที่มี Granule จํานวนมากได้แก่ Eosinophil, Basophit (อ้างอิงที่ 1)
ผู้คนที่สนใจในเรื่องสุขภาพจึงมักจะสนใจดูแลภูมิคุ้มกันภายใน ด้วยการ เอาใจใส่เรื่องโภชนาการ เลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ในที่นี้จึงขอ แนะนําสารอาหารที่ช่วยในเรื่องการเสริมและปรับสมดุลภูมิคุ้มกันของร่างกายซึ่งก็คือ “พลูคาว” นั่นเอง
การใช้ประโยชน์พื้นบ้านของพลูคาว
ภูมิภาคอินโดจีน ใช้ทั้งต้น บรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร ขับ ปัสสาวะ แก้อาการอักเสบ แก้ลมพิษ ใบใช้แก้บิด
ประเทศจีน ใช้ใบหรือทั้งต้นขับปัสสาวะ รักษาโรคติดเชื้อในทางเดิน ปัสสาวะ แก้อาการบวมน้ํา ฝีอักเสบ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ไอ และ บิด ด้านเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจ
ประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น และอินเดีย ใช้ทั้งต้นเป็นยาลดไข้ ขจัดสารพิษ รักษาแผลในกระเพาะ และอาการอักเสบ รวมทั้งรักษาพิษแมลงกัดต่อย ประเทศเกาหลี ใช้พลูคาวรักษาโรคความดันโลหิตสูง อาการเส้นเลือด แข็งตัว และมะเร็ง
ประเทศเนปาล ใช้ล่าต้นใต้ดิน ในตํารับยาที่เกี่ยวกับโรคของสตรี ใช้ทั้ง ต้นเป็นยาช่วยย่อย บรรเทาอาการอักเสบและขับระตู ใบใช้เป็นยารักษาโรค ผิวหนัง แก้บิด และริดสีดวงทวาร
ประเทศไทย ใช้ในยาแผนโบราณ และยาพื้นบ้าน ใช้เป็นยาแก้กามโรค ทําให้น้ําเหลืองแห้ง แก้โรคผิวหนัง แก้พิษฝี ต้นแก้ริดสีดวง ชาวเขายังใช้ผักคาวตองเป็นยารักษาโรคมาเลเรีย
พลูคาวยังมีในค่ารับยาอีกหลายขนาน ผลการตรวจสอบทะเบียนตํารับยา แผนโบราณของไทย ในช่วงประมาณ 40 ปีที่ผ่านมา พบในสูตรตํารับยา แผนโบราณที่กระทรวงสาธารณสุขรับขึ้นทะเบียนจํานวน 19 ตํารับ
(อ้างอิงที่ 2)
องค์ประกอบทางเคมีของ พลูคาว
“พลูคาว” มีองค์ประกอบทางเคมีที่สําคัญ 6 ประเภทคือ น้ํามันหอมระเหย (Volatile oil), สารประเภทฟลาโวนอยด์ (Flavonoids), สารประเภทอัลคาลอยด์ (Alkaloid), สารประเภทกรดไขมัน (Fatty acids), สารประเภทไฟโต สเตอรอล (Phytosterols) และสารประกอบเคมีอื่นๆ ได้แก่ Polyphenolic acid กับแร่ธาตุ เช่น Fluoride, Potassium chloride, Potassium sulfate (อ้างอิงที่ 3)
การศึกษาวิจัยของ พลูคาว (Houttuynia Cordata Extract)
การศึกษาวิจัย ของ พลูคาว (อ้างอิงที่ 4)
พลูคาวกับภูมิคุ้มกัน
งานวิจัยของพลูคาวกับระบบภูมิคุ้มกัน เป็นเรื่องที่น่าสนใจและแปลกใจ อย่างยิ่ง เพราะแนวโน้มพบว่า เสริมภูมิคุ้มกันในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ขณะเดียวกันก็ลดภูมิคุ้มกันในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไวเกิน
ในปี 2003 คณะวิจัยของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ท่าการศึกษาฤทธิ์ของ “พลูคาว” ต่อเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันของคนในหลอด ทดลอง พบว่า สามารถกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์เม็ดเลือดขาวได้ และได้ ทําการศึกษาฤทธิ์ของพลูคาวแคปซูล และยาตํารับสมุนไพรงวงตาลแคปซูล ซึ่งมีพลูคาวเป็นองค์ประกอบ ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรม พบว่า ช่วยเพิ่ม การแบ่งตัวของเซลล์เม็ดเลือดขาวของคนปกติในหลอดทดลองได้ (อ้างอิงที่ 15)
ในปี 2005 พบว่า สารสกัดจาก “พลูคาว” สามารถลดการเกิดภูมิแพ้อย่าง รุนแรงในเม็ดเลือดขาวมาสต์เซลล์ (Mast cell-mediated anaphylactic reactions) ซึ่งการวิจัยนี้บอกว่า อาจจะนําไปใช้พัฒนาเป็นยารักษาโรคหอบหืด และภูมิแพ้ในทางเดินหายใจได้ (อ้างอิงที่ 15)
ในปี 2009 มีงานวิจัยว่าสารสําคัญ ใน “พลูคาว” มีผลลดการแพ้ โดยลดการหลั่ง IgE ในเม็ดเลือดขาวที่ทําให้เกิด การแพ้คือ เปโซฟิล (Basophil) (อ้างอิงที่ 17) และมีการค้นพบเพิ่มเติมอีกว่า สารสาคัญในพลูคาวมีผลลดการแพ้ภูมิแพ้ โดยลดการหลั่ง IgE ในเม็ดเลือดขาว ที่ทําให้เกิดการแพ้ คือ มาสต์เซลล์ (Mast cels) (อ้างอิงที่ 18)
จากข้อมูลของสถาบันวิจัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในปี 2548 ได้ ระบุว่า ปัจจุบันมีการจดสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของ “พลูคาว” ไม่น้อยกว่า 17 ฉบับ สรุปประโยชน์ ได้ 3 เรื่องใหญ่ๆ ดังนี้ (อ้างอิงที่ 19)
- รักษาภาวะภูมิแพ้ ภูมิไวเกิน เช่น หอบหืด ภูมิแพ้ผิวหนังชนิด Atopic eczema และ Atopic dermatitis, เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ Allergic conjunctivitis, หวิดจากภูมิแพ้ (Allergicrhinitis) การแพ้อาหาร (Food allergy) กลุ่มอาการที่มีสารภูมิแพ้ไอจีอีสูง (Hyper IgE syndrome) หรือ ภูมิต้านทานต่อเนื้อเยื่อตนเอง ได้แก่ โรครูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis
- รักษาภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยเป็นส่วนผสมหนึ่งในตัวยารักษาผู้ป่วย เอดส์และผู้ป่วยมะเร็ง หรือผู้ได้รับสารกดภูมิคุ้มกัน
- เสริมภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย
พลูคาวกับฤทธิ์ ในการท่าลายเชลล์มะเร็ง
มีงานวิจัยที่สนับสนุนว่า สารสําคัญในพลูคาวมีฤทธิ์ที่สามารถทําลายเซลล์ มะเร็งต่างๆ ได้ดังนี้
- มะเร็งเม็ดเลือดขาวของหนูชนิด L1210 (Mouse lymphocytic leukemia colt (อ้างอิงที่ 5)
- มะเร็งต่อมเม็ดเลือดขาวของคน ชนิด K562 (Human Immortalised myelogenous leukemia) (อ้างอิงที่ 5)
- มะเร็งต่อมน้ําเหลืองของคน ชนิด Rail cell line (Burkit’s lymphoma : BU (อ้างอิงที่ 5)
- มะเร็งต่อมน้ําเหลืองของคน ชนิด PSHR cell line (อ้างอิงที่ 5) มะเร็งต่อมน้ําเหลืองของคน ชนิด 1937 (Histilocyticlymphoma) (อ้างอิงที่ 5)
- มะเร็งปอด (A-649 Adenocarcinomic human alveolar basaopithelial cels) (อ้างอิงที 6)
- มะเร็งรังไข่ (OV-3 Human : Adenocarcinoma; ovary) (อ้างอิงที 6)
- มะเร็งผิวหนัง (SK-MEL-2 Human Skin Melanoma cell line) (อ้างอิงที 6)
- มะเร็งสมอง (XF-498 Glioblastoma) (อ้างอิงที่ 6)
- มะเร็งลําไส้ (HCT-15 Human, Colon Adenocarcinoma) (อ้างอิงที 6)
- สามารถยับยั้งการแบ่งตัวและทําลายเซลล์มะเร็งลําไส้ (HT-29 Human calon adenocarcinoma cells) ของคนด้วยกลไก Mitochondria- dependent signaling pathway (อ้างอิงที 7,8)
ในประเทศจีนมีการใช้พลูคาวเป็นส่วนประกอบตํารับยาผงสําหรับรับประทาน ใช้ในการรักษามะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งทางเดินอาหาร และมะเร็งทางเดินหายใจ รวมถึงเนื้องอกในรังไข่ มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม ยังใช้เป็นยาฉีดสําหรับมะเร็งกระเพาะอาหาร และเป็นตํารับยาน้ํารักษามะเร็ง ลําไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งหลอดอาหาร และมะเร็งเต้านม
นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนประกอบในตํารับยาสําหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง เพื่อเพิ่ม ภูมิต้านทานแก่ร่างกาย และรักษาอาการข้างเคียงที่เกิดจากใช้รังสีรักษา และ เคมีบําบัด (อ้างอิงที 4)
พลูคาวกับฤทธิ์ในการท่าลายเชื้อไวรัส
มีงานวิจัยที่สนับสนุนว่า สารสําคัญในพลูคาวมีฤทธิ์ที่สามารถในการ ทําลาย และ/หรือยับยั้งเชื้อไวรัสได้หลายชนิดคือ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ เอดส์ เริ่ม และไวรัสที่ทําให้เป็นโรคมือเท้าปากเปื่อย ดังนี้
- ฤทธิ์ยับยั้งและทําลายไวรัสไข้หวัดใหญ่ Influenza virus (อ้างอิงที่ 9)
- สารสําคัญ Quercetin 3-thamnosides (3P) จากพลูคาวมีประสิทธิภาพสูง ในการทําลายไวรัสไข้หวัดใหญ่ Influenza A (อ้างอิงที่ 12)
- ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ H1N1 Influenza โดยทดลองในเชื้อที่ทําให้ เกิดการติดเชื้อปอดอักเสบแก่หนูทดลอง (อ้างอิงที่ 14)
- ฤทธิ์ยับยั้งและทําลายไวรัสเอดส์ Human immunodeficiency virus type 1 (HIV-1) ได้โดยตรง โดยไม่เป็นพิษต่อเซลล์ของร่างกาย (อ้างอิงที่ 9)
- สารสาคัญในที่สําคัญคือ Houttuynoside A (1) and Houttuynamide A2 และ Noraepharadione B มีฤทธิ์ยับยั้งและทําลายไวรัสเริม Herpes simplex vius type 1 (HSV-1) (อ้างอิงที่ 9, 13)
- ฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อเริม AntHHerpes simplex virus activity ชนิด HSV-2 (อ้างอิงที 10)
- ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสเอนเตอโรไวรัส (Enterovirus 71) ซึ่งทําให้เกิดโรคมือเท้า ปากเปื่อย (Hand foot mouth) ซึ่งมีการระบาดในหลายประเทศ และ ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงสามารถทําให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจ สมอง และเยื่อ หุ้มสมองอักเสบได้ (อ้างอิงที่ 11)
ปัจจุบันนี้ในประเทศจีนมีการใช้พลูคาวเป็นส่วนผสมในตํารับยารักษาโรคที่เกิดจากไวรัส โดยมีการจดสิทธิบัตรไว้หลายรายการ เช่น ตํารับยารักษา การติดเชื้อจาก Cytomegalovirus ในคน เป็นส่วนผสมยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) เป็นส่วนผสมสําหรับยาน้ํา สําหรับลดไข้ รักษาโรคหลอดลม อักเสบฉับพลันหรือเรื้อรัง เป็นส่วนประกอบในตํารับยารักษาโรคติดเชื้อ ฉับพลัน เช่น ไข้หวัดใหญ่ และการติดเชื้อทางเดินหายใจ (อ้างอิงที่ 4)
พลูดาวกับการต้านอนุมูลอิสระ
และการต้านการอักเสบ พลูคาวมีสารสาคัญที่มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด น่าจะเป็น ด้วยกลไกของการด้านอนุมูลอิสระ ทําให้มีผลต่างๆ ตามมา ดังนี้
ในปี 2006 มีงานวิจัยว่า สารสกัดจากพลูคาวในรูปของการฉีดมีฤทธิ์ต้าน การอักเสบได้ เป็นการวิจัยในหนูทดลอง ที่ทําให้เยื่อหุ้มปอดอักเสบ ด้วยการ ฉีดสารเคมีที่ระคายเคืองคือ คาราจีแนน (Carrageenan) เข้าไปทําให้ ระคายเคืองต่อเยื่อหุ้มปอด (อ้างอิงที่ 20)
ในปีเดียวกันมีงานวิจัยทํานองคล้ายกัน พบว่า ด้วยกลไกการต้านอนุมูล อิสระ สารสกัดจากพลูคาวสามารถลดการเกิดเนื้อเยื่อพังผืดในปอดของหนู ทดลอง (Pulmonary fibrosis) ที่ถูกเหนี่ยวนําให้เกิดการอักเสบโดยยาบลีโอ มัยซินได้อีกเช่นกัน (อ้างอิงที่ 21)
ในปี 2007 มีงานวิจัยว่า สารสกัดจากพลูคาวช่วยปกป้องไตเสื่อมในหนู ทดลองที่เป็นเบาหวาน (อ้างอิงที่ 22)
ในปี 2009 มีงานวิจัยว่า พลูคาวเป็นหนึ่งในสมุนไพรห้าชนิดที่มีความ สามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด จากสมุนไพรไทย 30 ชนิด ที่มีใช้ใน ตํารับยารักษาโรคเบาหวาน (อ้างอิงที่ 23)
พลูคาวกับการทดสอบความเป็นพิษ
พบว่าสาร decanoy acetaldehyde ซึ่งแยกได้จากพลูคาวในขนาด ประมาณ 1.6 กรัม ต่อน้ําหนักตัว 1 กก. เป็นขนาดที่ทําให้หนูถีบจักรตาย ไปครึ่งหนึ่ง (LD 50) เมื่อฉีดเข้าหลอดเลือดดําสุนัข ในขนาด 38-47 มก. ต่อน้ําหนักตัว 1 กก. ทําให้สุนัขตาย และเมื่อกรอกเข้ากระเพาะอาหาร ของสุนัขวันละ 80-160 มก. ต่อ กก. ติดต่อกัน 1 เดือน จะทําให้สุนัข มีน้ําลายออกมาก และระยะแรกมีอาการอาเจียน โดยที่ไม่พบความเป็นพิษ อื่นอีก (อ้างอิงที่ 4)
นอกจากนั้นพบว่า พลูคาวมีการกระตุ้นให้เกิดการแพ้แสง (Phyto- toxic dermatitis) เป็นรายงานผู้ป่วยหญิงที่บริโภคพลูคาวในรูปแบบที่เป็นน้ํา และผงแห้งติดต่อกัน 20 วัน เกิดรอยด่างสีม่วงแดงที่แก้มทั้งสองข้าง และ ผิวหนังร้อนแดงที่หน้าผาก ลําคอ คาง แขน และฝ่ามือ (อ้างอิงที่ 24)
ประโยชน์ของ พลูคาว (Houttuynia Cordata Extract)
- มีฤทธิ์ยับยั้ง และทําลายไวรัส ไข้หวัดใหญ่
- สารสําคัญใน พลูคาวสามารถ ยับยั้ง และทําลาย เซลล์มะเร็งปอด
- มีฤทธิ์ยับยั้ง เชื้อเอนเตอโร ไวรัสที่ทําให้ เกิดโรคมือเท้า ปากเปื่อย
- ลดอาการแพ้
โรค หรือ ภาวะที่จะแนะนำ ในการใช้ พลูคาว
- โรคภูมิแพ้ ผิวหนัง หอบหืด คันจมูกจาม แพ้อาหาร โรครูมาตอยด์
- มะเร็งปอด มะเร็งรังไข่ มะเร็งสมอง มะเร็งลำไส้ มะเร็งเม็ดโลหิตขาว มะเร็งต่อมน้ําเหลือง
- โรคหวัด
- โรคมือเท้าปากเปื่อย
- โรคเอดส์
ข้อห้าม ข้อควรระวัง ในการใช้ พลูคาว
- ห้ามในเด็กและ สตรีมีครรภ์
- ผู้ที่ป่วยเป็นโรคตับ อักเสบ อย่างรุนแรง หรือโรคตับแข็ง
- ห้ามรับประทานใน ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ เพราะมีผลต่อ ระบบภูมิคุ้มกัน
- เป็นสมุนไพร จึงห้าม รับประทานในผู้ที่ตับอักเสบมาก คือมีค่าการทํางานของตับ เอนไซม์ SGOT SGPT มากกว่า 40 IU
เบต้า-กลูแคน (Beta-glucan) คืออะไร?
“เบต้า-กลูแคน (Beta-glucan)” เบต้า-กลูแคน เป็น “สารประกอบประเภทน้ําตาลหลายโมเลกุล” หรือที่เรียกกันว่า “โพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharide)” ชนิดหนึ่งพบได้ในผนังเซลล์ของยีสต์ เห็ดรา ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ มีประโยชน์ในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ของเรา
ประโยชน์ ของ เบต้า-กลูแคน (Beta-glucan)
- ช่วยบรรเทาโรคมะเร็งร้าย เบต้ากลูแคนจะช่วยให้เม็ดเลือดขาวในระบบภูมิคุ้มกันด่านแรกของเราทำลายเชื้อโรค และเซลล์แปลกปลอมได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม อีกทั้งเบต้ากลูแคนยังเพิ่มจำนวน และกระตุ้นการทำงานของเลือด ให้กำจัดเซลล์มะเร็งได้ดียิ่งขึ้น
- เหมาะสำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน เบต้ากลูแคน เป็นเส้นใยอาหารที่สามารถชะลอไม่ให้น้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดเร็วเกินไป ทำให้น้ำตาลค่อย ๆ ไหลเข้าสู่กระแสเลือดแบบที่ควรจะเป็น ลดระดับความต้องการอินซูลินของร่างกายลงได้ อีกทั้งเบต้ากลูแคนยังเป็นสารอาหารที่ช่วยฟื้นฟูสภาพของตับอ่อน ซึ่งทำหน้าที่ผลิตอินซูลินตามธรรมชาติ ให้กลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย
- ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดแดง เบต้ากลูแคนจะช่วยให้คอเลสเตอรอลในเลือดของคุณลดลงได้ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีในการลดความเสี่ยงของโรคไขมันอุดตันในหลอดเลือดแดง ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจได้สะดวก ป้องกันความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจอย่างได้ผล
- ชะลอวัย ผิวหนังเต่งตึง เพิ่มความยาวนานให้วัยหนุ่มสาว เบต้ากลูแคนมีประโยชน์ในการกระตุ้นเซลล์ในด้านต่าง ๆ รวมทั้งการสร้างเส้นใยที่ทำหน้าที่ผลิตสารสำคัญที่จำเป็นต่อผิว ไม่ว่าจะเป็น คอลลาเจน อีลาสติน รวมทั้งกรดไฮยาลูโรนิก ทำให้ผิวหนังยืดหยุ่น ลดริ้วรอย ผิวดูมีน้ำมีนวล ชุ่มชื้น และที่สำคัญคือ เบต้ากลูแคนจะช่วยให้โครงสร้างผิวหนังของเราแข็งแรง คงรูป ไม่อ่อนเหลว กลับเป็นวัยรุ่นอีกครั้ง
- ช่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (เอดส์) เบต้ากลูแคนมีคุณสมบัติเข้าไปช่วยเพิ่มจำนวนและกระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาว ที่คอยจำแนกสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย ทำให้สามารถตรวจพบสิ่งผิดปกติได้ดีขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันที่เคยทำงานผิดปกติ สามารถกลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ตัวเอง เบต้ากลูแคน เป็นสารอาหารที่ช่วยปรับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเรา ทำให้เม็ดเลือดขาวทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ซึ่งเบต้ากลูแคนจะเข้าไปลดสารที่กระตุ้นให้ร่างกายเกิดอาการภูมิแพ้ อีกทั้งยังควบคุมไม่ให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานมากเกินไป
- ช่วยสมานแผล เบต้ากลูแคนยังมีอีกหนึ่งคุณสมบัติที่โดดเด่น โดยสามารถรักษาแผลผิวหนังอักเสบได้ โดยเบต้ากลูแคนจะเข้าไปเพิ่มภูมิต้านทานของเม็ดเลือดขาวให้เข้มแข็ง และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นตัวหลักในการรักษาแผลทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น แผลจากศัลยกรรม ผ่าตัด เบาหวาน และรักษาอาการผิวแห้ง ซึ่งเบต้ากลูแคนช่วยให้แผลหายไว รอยแผลเป็นจางลง ลดการติดเชื้อ และลดอัตราการตายของเซลล์
- ลดการติดเชื้อ เบต้ากลูแคน ช่วยลดปัญหาการติดเชื้อต่าง ๆ ทั้งการติดเชื้อจากการผ่าตัด และการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกัน ทำให้เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันกำจัดเชื้อแบคทีเรีย โดยเพิ่มจำนวนและประสิทธิภาพของเซลล์ อีกทั้งยังมีการใช้เบต้ากลูแคนในการลดการติดเชื้อในกระแสเลือด ด้วยการกระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวให้เพิ่มภูมิคุ้มกันมากขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด
- รักษาและบรรเทาระบบทางเดินอาหาร เบต้ากลูแคนช่วยบรรเทาอาการท้องผูก หรือโรคที่เกิดจากภาวะทางเดินอาหารได้เป็นอย่างดี เพราะมีคุณสมบัติที่ช่วยดีท็อกซ์ลำไส้ ทำให้ระบบขับถ่ายกลับไปสู่ภาวะปกติ เนื่องจากมีไฟเบอร์สูง ทำให้อิ่มท้องง่าย อีกทั้งเบต้ากลูแคนยังเป็นอาหารของพรีไบโอติกในลำไส้ ที่จะช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ลดภาวะกรดไหลย้อน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคทางเดินอาหารอีกมากมาย
โรค หรือ ภาวะที่จะแนะนำ ในการใช้ เบต้า-กลูแคน
- ผู้ที่เป็นภูมิแพ้หรือ ผู้ที่ต้องการเสริมภูมิคุ้มกัน
- โรคมะเร็ง
- โรคเอดส์
- ผู้สูงอายุ
ข้อห้าม ข้อควรระวัง ในการใช้ เบต้า-กลูแคน
- ห้ามรับประทานในผู้ป่วย ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ เพราะมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน
เอกสารอ้างอิง
- ความรู้เบื้องต้นของระบบภูมิคุ้มกัน ศูนย์รวบรวมและวิเคราะห์เชื้อเอชไอวีแห่งประเทศไทย(National HIV FilepositoryBioinformatic Center: NHREC) ในความร่วมมือของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข http://www.nhsc.org/Hv_vaccine paper 16.2.html
- พฤกษศาสตร์และการใช้ประโยชน์พื้นบ้านจากผักคาวตอง จารีย์ ปันสิทธิ์ สมุนไพรน่ารู้ผักคาวตอง Houttuynia carclara Thurb สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์ 38N 9747549778
- คุณภาพทางเคมีของผักคาวตอง เย็นจิตร เตชะดํารงสิน และคณะสมุนไพรน่ารู้ผักคาวตอง Houttuynia cordata Thunb สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์ ISBN 9747549778
- กัลยา อนุลักขณาปกรณ์ ผักคาวตองกับการศึกษาทางด้านเภสัชวิทยา สมุนไพรน่ารู้ผักคาวตอง Houttuynia cordata Thurb สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ISBN 97475497784
- Chang Ja, et al. Anilikeukemic acthty of Bidens plora L. var. minor (Blume) Snerff and Houttuyniaconciata Thunb. Am J Chin Med. 20012020-303-12
- Kim SK Ru SY, No J. Chol SU. Kim Ys.Cytotodic alkaloids from Houttuynia cordata Arch Pham Res2001 Dec,2406):518-21
- Tang YJ, et al. Houttuynia cordata Thunb extract induces apoptosis through mitochondrialdependentpathway in HT-29 human colon adenocarcinoma cels, Oncol Rep. 2009 Nov,225:1051-6
- Lal KC, et al. Houttuynia cordata Thunb extract inhibits cell growth and induces apoptosis in human primary colorectal cancer cels Anticancer Res. 2010 Sep.30933549-56
- Hayashi K, Komiya M. Hayashi T. Vrucidal effects of the steam chiliate from Houttuynia cordata and its components on HSV-1, influenza virus, and HIV. Planta Med. 1995 Junc61(3):237-41
- Chiang LC. et al. Anti-Herpes simplex virus activity of Bidens plosa and Houttuynia cordata. Am J Chin Med. 2003;31(3):355-62
- Un TV, et al. Anti-enterovirus 71 activity screening of chinese herbs with antHhnfection and inflammation activities. Am J Chin Med. 2009,37(1):143-58
- Chol H. Song JH, Pork KG. Kwon DH. hhibitory effects of quercetin 3-thamnoside on influenza A virus
replication. Eur J Pharm Sci. 2009 Jun 28,37(3-4):329-33. Epub 2009 Mar 14 - Chou Sa, et al. The constituents and their bioactivities of Houttuynia cordata. Chem Pharm Buil(Tokyo), 2009 Nov:57(11):1227-30
- Pharmacodynamic experiment of the antivirus effect of houttuynia cordata injection on influenza virus in milce. Yao Xue Xue Bao, 2010 Marcb03:399-402
- Sriwanthana B, Chavalttumrong P. Threesangsrl W. et al 200s. Effect of Houttuynia cordata Thunb. On Mymphocyte proliferation of normal. ในผักคาวตองกับภูมิคุ้มกัน บุษราวรรณ ศรีวรรธนะ จารีย์ บันสิทธิ์ สมุนไพรน่ารู้ผักคาวตอง Houttuynia cordata Thunb สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ISSN9747549778
- LI GZ. et al. Inhibitory effects of Houttuynia cordata water extracts on anaphylactic reaction and mast cell activation. Blol Pham Bull. 2005 Oct:28(10):1864-8
- Down-regulation of Foepillon expression by Houttuynia cordata Thunb extract in human basophilic KUB12F cels. J Med Food, 2009 Apr.122)-383-8
- Han EH, Park JH, Km JY. Jearng HG. Houttuynia cordata water extract suppresses anaphylactic reaction and IgE-mediated allergic response by inhibiting multiple steps of Foepsilon signaling in mast cells. Food Chem Toxicol 2009 Jub47073:1659-66. Epub 2009 Apr 24
- บุษราวรรณ ศรีวรรธนะ จารย์ บันสิทธิ์ ผักคาวตองกับภูมิคุ้มกัน สมุนไพรน่ารู้ผักคาวตอง Houttuynia cordata Thunb สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์ ISBN 9747519778
- Lu HM, Lang YZ, YI LZ, WU XJ. Anti-inflammatory effect of Houttuynia cordata injectionEthnophamacol 2006 Mar 8:10401-2)-245-9. Epub 2005 Oct 5
- Ng LT, Yen FL., Loe CW, Lin CC.Protective effect of Houttuynia cordata extract on bleomchinduced pulmonary fiorosis in rats. Am J Chin Med. 2007;353)-465-75
- Wang F, Lu F, Xu L. Effects of Houttuynia cordata thumb on expression of BMP.7 and TGF-betal in therenal fissues of diabetic rats. J Tradit Chin Med. 2007 Sep:27(3):220-5
- Antioxidative activity, polyphenolic content and anti-glycation effect of some Thal medicinal plantstraditionally used in diabetic patients. Med Chem 2009 Mar:$23:139-47
- Sano F. Phytophototoeic dermatitis induced by Houtunla cordata. Environmental Dermatology 2(3):208211 ในกัลยาอนุลักขณาปกรณ์ ผักคาวตองกับการศึกษาทางด้านเภสัชวิทยา สมุนไพรน่ารู้ผักคาวตอง Houttuynia Cockata Thunb สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์ SBN 97475097784
เรียบเรียงและจัดทำโดย Sirikul Shop
รหัสสินค้า : 41021
เลขที่จดแจ้งผลิตภัณฑ์ : 13-1-03440-1-0120
ขนาด กxยxส : 9x2x12.5
น้ำหนัก/กิโลกรัม : 0.05
กิฟฟารีน เบต้า พลูคาว (30 แคปซูล)
ส่วนประกอบที่สำคัญโดยประมาณใน 1 แคปซูล: |
พลูคาวสกัด 67.11% (400 มิลลกรัม)
เบต้า-กลูแคนส์ จากยีสต์ 16.78% (100 มิลลิกรัม) |
วิธีรับประทาน: ครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 1 ครั้ง หลังอาหาร ขนาด 30 แคปซูล |

รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์