, ,

อาหารเสริม โคเอนไซม์คิวเทน ผสม แอล-คาร์นิทีน และ ซิตรัสไบโอฟลาโวนอยด์ ชนิดแคปซูล กิฟฟารีน โค-คิวเทน แมกซ์ (30 แคปซูล)

600฿

ตัวช่วยในการ ดูแลหัวใจ ชะลอวัย ลดความถี่ในการปวดหัวไมเกรน

โคเอนไซม์ คิวเทน (Coenzyme Q10) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า โค-คิวแทน (Co-Q10) เป็นสารที่พบในร่างกายตามธรรมชาติ ร่างกายต้องใช้โคเอนไซม์คิวเทนในการเจริญเติบโตของเซลล์ รวมถึงปกป้องเซลล์จากจากการถูกทำลายอันเป็นสาเหตุนำไปสู่การเป็นโรคมะเร็ง

Availability: มีสินค้าอยู่ 20

อาหารเสริม โคเอนไซม์คิวเทน ผสม แอล-คาร์นิทีน และ ซิตรัสไบโอฟลาโวนอยด์ ชนิดแคปซูล กิฟฟารีน โค-คิวเทน แมกซ์ (30 แคปซูล)

Giffarine Co-Q10 Max : Coenzyme Q10 Dietary Supplement Mixed with L-Carnitine and Bioflavonoids Capsule Type (30 capsules)

ตัวช่วยในการ ดูแลหัวใจ ชะลอวัย ลดความถี่ในการปวดหัวไมเกรน

โคเอนไซม์ คิวเทน (Coenzyme Q10) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า โค-คิวแทน (Co-Q10) เป็นสารที่พบในร่างกายตามธรรมชาติ ร่างกายต้องใช้โคเอนไซม์คิวเทนในการเจริญเติบโตของเซลล์ รวมถึงปกป้องเซลล์จากจากการถูกทำลายอันเป็นสาเหตุนำไปสู่การเป็นโรคมะเร็ง

สารอาหารที่ช่วยดูแล หัวใจ มีอะไรบ้าง?

โคเอนไซม์คิวเทน คือ อะไร?

“โคเอนไซม์คิวเทน (Coenzyme Q10)” หรือ “CoQ10” เป็นสารชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นได้เอง โดยพบในทุกเซลล์ของร่างกาย แต่พบมากในอวัยวะที่ต้องใช้พลังงานมาก เช่น หัวใจ ปอด ไต และตับ สารตัวนี้มีหน้าที่สำคัญในการสร้างพลังงานให้แก่เซลล์ และยังมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยชะลอหรือป้องกันความเสียหายที่เกิดกับเซลล์ภายในร่างกาย

แม้ว่าร่างกายของคนเราจะสร้าง “โคเอนไซม์คิวเทน (Coenzyme Q10)” ได้เอง แต่ระดับ “โคเอนไซม์คิวเทน (Coenzyme Q10)” ในร่างกายจะลดลงตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงในคนที่มีโรคประจำตัวอย่างโรคหัวใจหรือคนที่รับประทานยาลดไขมันกลุ่มสแตตินด้วย นอกจากนี้ “โคเอนไซม์คิวเทน (Coenzyme Q10)” ยังพบได้จากอาหารจำพวกสัตว์เนื้อแดง ปลา และถั่ว รวมถึงอาหารเสริมด้วย

Q10 คือ อะไร?

“Q10 หรือ Coenzyme Q10 (Ubiquinone Coenzyme Q-10)” หรือที่รู้จักกันในทางการแพทย์อีกชื่อหนึ่งว่า ” CoQ10″ คือสารที่มีคุณสมบัติคล้าย “วิตามิน (vitamin)” ซึ่งร่างกายสามารถผลิตเองได้ในปริมาณหนึ่ง มีฤทธิ์ช่วยขนส่งอิเล็กตรอนและช่วยในกระบวนการผลิตพลังงานของเซลล์ในร่างกาย และกระตุ้นการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย โดยสารชนิดนี้มักพบได้มากในอวัยวะที่ต้องใช้พลังงานมาก เช่น หัวใจ ไต ตับ และตับอ่อน เป็นต้น

นอกจากนี้ “Q10” อาจมีผลช่วยในการรักษาโรคต่าง ๆ เช่น ปวดศีรษะไมเกรน ลดความดันโลหิต ป้องกันภาวะหัวใจขาดเลือดซ้ำ ชะลอการเกิดอาการของโรคพาร์กินสัน ช่วยในการรักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจ ปัญหาระบบประสาทของโรคเบาหวาน โรคกล้ามเนื้อเสื่อม และโรคจอประสาทเสื่อม และยังนำมาใช้ช่วยเพิ่มสมรรถภาพในนักกีฬาอีกด้วย

คุณสมบัติของ โคเอนไซม์ คิวเทน (Coenzyme Q10)

“โคเอนไซม์คิวเทน (Coenzyme Q10)” ช่วยลดความเสี่ยงในคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือด หรือภาวะหัวใจล้มเหลวจากเลือดคั่ง (Congestive Heart Failure) ทั้งนี้มีงานวิจัยสนับสนุนว่าการรับประทาน”โคเอนไซม์คิวเทน (Coenzyme Q10)” 120 มิลลิกรัมต่อวัน ในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดจะช่วยลดอัตราการเป็นซ้ำ และลดอัตราการเสียชีวิตได้อย่างมีนัยสำคัญ (อ้างอิงที่1) และในปริมาณสูงยังประโยชน์ในการผ่าตัดหัวใจโดยทำให้หัวใจทนทานต่อการขาด เลือดและฟื้นตัวได้ดีขึ้น (อ้างอิงที่2)

“โคเอนไซม์คิวเทน (Coenzyme Q10)” มีบทบาทสำคัญในการทำลายสารอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น ป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย จึงช่วยป้องกันเรื่องหลอดเลือดหัวใจอันเกิดจากการที่แอลดีแอลโคเลสเตอรอล (LDL Cholesterol) ถูกออกชิไดซ์ (Oxidized) ด้วยอนุมูลอิสระ (อ้างอิงที่3) และสะสมในผนังหลอดเลือด ก่อให้เกิดการอักเสบและผนังหลอดเลือดหนาตัวขึ้นกลายเป็นพล๊าค (Plaque) หรือตะกอนในผนังเส้นเลือด เกาะที่ผนังหลอดเลือด ส่งผลทำให้หลอดเลือดแข็ง ไม่ยืดหยุ่นและตีบตัน นำมาซึ่งปัญหาเรื่องโรคหัวใจได้

“โคเอนไซม์คิวเทน (Coenzyme Q10)” ช่วยลดระยะเวลาที่ปวดต่อครั้ง รวมถึงลดความถี่ในการปวดหัวไมเกรน (Migraine) ทั้งนี้มีงานวิจัยที่แสดงว่า การให้กลุ่มที่เข้ารับการทดสอบ 31 คน ได้รับ “โคเอนไซม์คิวเทน (Coenzyme Q10)” ปริมาณ 150 มิลลิกรัมต่อวัน พบว่า 19 คน จาก 31 คน มีระยะเวลาที่ปวดไมเกรนในแต่ละครั้งลดลงมากกว่า 50% กล่าวคือระยะเวลาที่ปวดโดยเฉลี่ย 7.34 วันต่อเดือน ลดลงเหลือเฉลี่ย 2.95 วันต่อเดือน หลังจากได้รับ “โคเอนไซม์คิวเทน (Coenzyme Q10)” เป็นระยะเวลา 3 เดือนและช่วยลดความถี่ในการปวดจากเดิมที่ความถี่ 4.85 เหลือ 2.81 โดยไม่มีผลข้างเคียง (อ้างอิงที่ 4.5)

“โคเอนไซม์คิวเทน (Coenzyme Q10)” ยังเกี่ยวข้องโดยตรงกับการสร้างพลังงานของร่างกาย โดยจะช่วยในการเปลี่ยน อาหารที่เรารับประทานเข้าไปเป็นพลังงานไมโตรคอนเดรียที่อยู่ในเซลล์ร่างกาย ถือว่ามีบทบาทสำคัญในไมโตรคอนเดรียอันเป็นแหล่งผลิตพลังงานของเซลล์ (Key role in mitcohondrial bioener getics) จึงพบ “โคเอนไซม์คิวเทน (Coenzyme Q10)” ได้มากในอวัยวะใช้พลังงานในการทำงาน  (อ้างอิงที่ 6-8)

“โคเอนไซม์คิวเทน (Coenzyme Q10)” อาจจะมีประโยชน์ในผู้ป่วยทาลัสซีเมียรุนแรง ชนิด “เบต้า ทาลัสซีเมีย อี (Beta-thaiassemia/HbE)” ซึ่งจะมีระดับ “โคเอนไซม์คิวเทน (Coenzyme Q10)” ในเลือดต่ำลงการให้

“โคเอนไซม์คิวเทน (Coenzyme Q10)” ทำให้ลดภาวะออกซิเดชั่นภายในเซลล์ และอาจทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น (อ้างอิงที่9) “โคเอนไซม์คิวเทน (Coenzyme Q10)” อาจจะมีประโยชน์ในโรคทางสมอง ได้แก่ โรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ (Dementia) โรคความจำเป็นเสื่อม (Alzheimer”s disease) และโรคปาร์กินสัน (Parkinson”s disease) (อ้างอิงที่ 10) โรคหอบหืด (Bronchialasthma) (อ้างอิงที่11) โรคไตเสื่อมเรื้อรัง (Tubulopathy and Chronic tubulointersticial nephritis) (อ้างอิงที่12)

แม้ว่าการวิจัยสำหรับโรคปาร์กินสัน โรคหอบหืด และ โรคไต พบว่ายังไม่ได้ผลในการรักษา แต่โรคเหล่านี้มีกลไกจากความเสื่อมของเซลล์ ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระมีบทบาท และพบว่าระดับโคเอนไซม์คิวเทนในเลือดต่ำลงในโรคเหล่านี้ด้วยอีกทั้งมีความ ปลอดภัยและมีประโยชน์จากการวิจัยในระดับเซลล์และในสัตว์ทดลอง ปัจจุบันมีงานวิจัยในคนที่มากขึ้นสำหรับโรคทางสมองเสื่อมอีกหลายชนิด

กล่าวโดยสรุป “โคเอนไซม์คิวเทน (Coenzyme Q10)” มีบทบาทสำคัญมากมายรวมถึงประโยชน์ต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ไม่ว่าจะช่วยในเรื่องหัวใจการเป็น Antioxidant ที่ทำลายอนุมูลอิสระ เกี่ยวข้องโดยตรงกับการสร้างพลังงานของเซลล์ รวมถึงช่วยในเรื่องการปวดหัวไมเกรน

อาจจะมีประโยชน์ในผู้ป่วยทาลัลซีเมียรุนแรง ชนิดเบต้าทาลัสซีเมีย อี (Betathalassemia/HbE) และอาจมีประโยชน์ในโรคทางสมองได้แก่ โรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุโรคความจำเสื่อม และโรคปาร์กินสัน ดังกล่าวมาแล้วเบื้องต้น เนื่องจากปริมาณของ “โคเอนไซม์คิวเทน (Coenzyme Q10)” ที่มีในร่างกายจะลดลงตามวัยที่เพิ่มมากขึ้น การรับประทาน “โคเอนไซม์คิวเทน (Coenzyme Q10)” จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการเสริมสุขภาพ

ประโยชน์ ของ โคเอนไซม์คิวเทน
  • เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงโรคหัวใจขาด เลือดหรือภาวะหัวใจล้มเหลว จากเลือดคั่ง ช่วยในการทํา งานของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ
  • มีบทบาทสําคัญในการท่าลาย สารอนุมูลอิสระ และป้องกัน การเสื่อมสภาพของเซลล์ ต่างๆ ในร่างกาย
  • ลดความถี่ในการปวดหัว ไมเกรนในผู้ป่วยที่มีระดับ โคเอนไซม์ คิวเทน ในเลือดต่ํา
  • อาจมีประโยชน์ในผู้ป่วย ธาลัสซีเมียรุนแรง
  • อาจมีประโยชน์ในโรคทางสมอง เช่น โรคสมองเสื่อม ในผู้สูงอายุ และโรคความจําเสื่อม (อัลไซเมอร์)
โรค หรือ ภาวะที่จะแนะนำ ในการใช้ โคเอนไซม์คิวเทน
  • โรคหัวใจ
  • เบาหวาน
  • ปวดหัวไมเกรน
  • ธาลัสซีเมีย
  • โรคสมองเสื่อม และความจําเสื่อม
  • หอบหืด
ข้อห้าม ข้อควรระวัง ในการใช้  โคเอนไซม์คิวเทน

ห้ามรับประทาน ในผู้ที่รับประทานยา ต้านการแข็งตัวของเลือด ยาละลายลิ่มเลือด หรือยาต้านเกล็ดเลือด หรือผู้ที่เกล็ดเลือดต่ํา หรือมีเลือดออกง่าย ตามที่ต่างๆ หรือมีประวัติเส้นเลือดแตกในสมอง และผู้ป่วย โรคหัวใจที่ได้รับการทําบายพาส และบอลลูน หรือรับประทานยาต้านเกล็ดเลือดดังกล่าว

หมายเหตุ

“โคเอนไซม์คิวเทน (Coenzyme Q10)” เป็นสารที่พบในร่างกาย ตามธรรมชาติ ร่างกายต้องใช้ “โคเอนไซม์คิวเทน (Coenzyme Q10)” ในการเจริญเติบโต ของเชลล์ รวมถึงปกป้องเซลล์จากการถูกทําลาย อันเป็นสาเหตุนําาไปสู่การ เป็นโรคมะเร็ง

ประโยชน์ ของ ทอรีน (Taurine)

“ทอรีน (Taurine)” เป็นกรดอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมทำเป็นอาหารเสริมในต่างประเทศ พบมากในสมอง ในหัวใจ ในจอตา และในกล้ามเนื้อ ในน้ำนมของมนุษย์มีส่วนในการเมตาบอลิซึมเซลล์ต่างๆ ทั้งเรื่องการคุมการทำงานของแคลเซียมในเซลล์ และการเผาผลาญน้ำตาล ช่วยในการทำงานของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ปัจจุบันนิยมใช้ในเรื่องบำรุงหัวใจและบเาหวาน (อ้างอิงที่13) สำหรับแหล่งอาหารที่สามารถพบได้ทั่วไปของ

“ทอรีน (Taurine)” ก็ได้แก่ เนื้อสัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่น เนื้อวัว ตับวัว หมู ตับหมู เนื้อแกะ เนื้อไก่ ปลาค็อด ปลาโดยเฉพาะปลาทูน่า แมลง ไข่ หอยต่าง ๆ อย่างหอยแมลงภู่ หอยนางรม รวมไปถึงสาหร่ายทะเลโดยเฉพาะสาหร่ายแดง และนมโดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำนมโคลอสตรัมจากคนและวัว เป็นต้น

และ “ทอรีน (Taurine)” จะไม่มีอยู่ในพืชผัก หรือถ้ามีก็ถือว่ามีน้อยมาก ๆ คือประมาณ 0.01 ไมโครโมลต่อกรัม ร่างกายของเราสามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนชนิดนี้ขึ้นมาเองได้อยู่แล้ว ถ้าตราบใดที่ร่างกายของเรายังมี “วิตามินบี 6 (Vitamin B6)” อยู่

หากร่างกายขาด “วิตามินบี 6 (Vitamin B6)”จะไปขัดขวางการสร้างกรดอะมิโน “ทอรีน (Taurine)” การดื่มสุราหรือแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไป จะส่งผลให้ร่างกายของคุณไม่สามารถใช้ “ทอรีน (Taurine)” ได้อย่างเหมาะสม 

การขาด “ทอรีน (Taurine)” ในระดับปานกลาง ร่างกายจะมีระดับโปรตีนสำคัญ ๆ ในเลือดต่ำ ส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตช้า

แต่ถ้าขาด “ทอรีน (Taurine)” อย่างรุนแรงจะทำให้เกิดอาการเซื่องซึม เหงาหงอย อ่อนเพลีย ตัวผอม ผิวหนังแห้งหรืออักเสบ เส้นผมเปลี่ยนสี บวม ตับอาจถูกทำลาย เกิดการสูญเสียกล้ามเนื้อและไขมัน “ทอรีน (Taurine)” เป็นกรดอะมิโนที่มีบทบาทสำคัญในร่างกาย

“ทอรีน (Taurine)”  จะเป็นส่วนประกอบหลักของน้ำดี ทั้งนี้มีรายงานวิจัยสนับสนุนว่าการเสริม “ทอรีน (Taurine)” ให้แก่ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ ขาดเลือด หรือภาวะหัวใจล้มเหลวจากเลือดคั่ง (Congestive Heart Failure) ให้ผลที่ดีและมีความปลอดภัย (อ้างอิงที่ 14)

แอล-คาร์นีทีน (L-Carnitine)

“แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine)” เป็นสารที่ร่างกายสร้างขึ้นได้เอง มีบทบาทในกระบวนการเผาผลาญ โดยเป็นตัวนำกรดไขมันเข้ามาสู่ไมโตคอนเดรียของเซลล์ มีงานวิจัยที่สนับสนุนว่า “แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine)” มีประโยชน์ในการช่วยรักษาโรคหัวใจขาดเลือด หรือภาวะทั้งหัวใจล้มเหลวจากเลือดคั่ง (Congestive Heart Failure) (อ้างอิงที่ 15,16)

ประโยชน์ ของ แอล-คาร์นีทีน (L-Carnitine)
  • เพิ่มการเผาผลาญไขมันให้เป็นพลังงาน สลายไขมันส่วนเกินที่สะสมบริเวณต่างๆ เช่น หน้าท้อง รอบเอว สะโพก ต้นขา ต้นแขน
  • ลดการสะสมของไขมันใหม่ ช่วยลดน้ำหนัก ให้หุ่นผอมเพรียว
  • ลดน้ำหนัก ลดดัชนีมวลกาย (BMI)
  • เสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง รูปร่างจึงฟิตเฟิร์ม กระชับ
  • ป้องกันการสลายของมวลกล้ามเนื้อ ทำให้สามารถรักษารูปร่างที่ดีไว้ได้โดยไม่กลับมาอ้วนใหม่ได้ง่าย
  • ช่วยลดความหิวและความอยากอาหารหวาน
  • ช่วยเพิ่มพลังงานให้ร่างกาย ทำให้รู้สึกสดชื่น กระฉับกระเฉง
โรค หรือ ภาวะที่จะแนะนำ ในการใช้ แอล-คาร์นีทีน
  • ในผู้ที่ต้องการให้มี กล้ามเนื้อในสุภาพบุรุษ
  • ในผู้ที่ต้องการมี เนื้อหนังในสุภาพสตรี
ข้อห้าม ข้อควรระวัง ในการใช้ แอล-คาร์นีทีน
  • ควรทานในผู้ที่มีอายุ เกิน 15 ปี
  • ห้ามในโรคไตและโรคหัวใจ แต่ในคนปกติ จะไม่ทําให้เป็นโรคไตหรือหัวใจแต่อย่างใร

หมายเหตุ

  • ในกลุ่มนักกีฬา สําหรับผู้ชาย ขนาดที่แนะน่าคือทาน วันละ 3-5 กรัม โดยอาจ ทานครั้งเดียวก่อนออกกําลังกาย ประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง หรือสามารถแบ่งทานก่อนออกกําลังกายประมาณ 2-3 กรัม และหลังออกกําลังกาย 60 นาที อีกประมาณ 1-2 กรัม ก็ได้ สาหรับสุภาพสตรี อาจลดลง ครึ่งหนึ่งของสุภาพบุรุษ
  • ขนาดรับประทานทั้งหมด สามารถปรับขนาดให้น้อยกว่า หรือมากกว่า นี้เล็กน้อยได้ ในสุภาพบุรุษ ที่เล่นกล้ามเพาะกายมักจะทาน ถึง 20 กรัม ต่อวัน ถ้าจะทานเป็นระยะเวลานาน แนะนําให้รับประทาน ไม่เกินวันละ 5 กรัม
ประโยชน์ ของ ชิตรัสไบโอฟลาโวนอยด์ (Citrus Bioflavonoid)

“ซิตรัสไบโอฟลาโวนอยด์ (Citrus Bioflavonoid)” ถือเป็นสารอาหารสำคัญจากพืชผักและผลไม้ที่เรียกว่า “ไฟโตนิวเทรียนท์ (phytonutrients)” ชนิดหนึ่ง จัดเป็นแหล่งสำคัญของสารต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งมีงานวิจัยยืนยัน ยอมรับทั่วโลกในการต่อต้านการเป็นมะเร็งและการเป็นโรคหัวใจ (อ้างอิงที่17)

เสริมความมั่นใจ ให้คุณผู้ชาย ในทุกวัน

เสริมความมั่นใจ ให้คุณผู้ชาย ในทุกวัน ด้วย อาหารเสริม จาก กิฟฟารีน เพื่อ การดูแลตัวเองแบบ เต็มที่

  1. Effect of coenzyme Q10 on risk of atherocleosis in patients recent myocaraial infarction. Mol Cell Biochem. 2003 Apr:246(1-2):75-82
  2. Coenzyme Q10 theapy before cardiac surgery improves mitochondrial function and in Vitro contractility of myocardial tissue. K Thorac Cardiovasc Surg. 2005 Jan:129(1) :25-32.
  3. Dietary antioxidants in preventing atherogenesis. Atherosclerosis. 2006 Jul:187(1):1-17, Epub 2005 Nov 28
  4. Open label trial of coenzyme Q10 as a migraine preventive, Cephalalgia, 2002 Mar:22(2):137-41
  5. Efficacy of coenzyme Q10 in migraine prophylaxis: a randomized controlled trial., Neurology. 2005 Feb 22:64(4) :713-5
  6. Coenzyme Q10, Qverview, National Cancer Institute., U.s.National Institutes of Health., www.cancer.gov
  7. Coenzyme Q10-Wikipedia,the free encyclopedia.. www.en.wikipedia.org/wiki/Coenzyme_Q
  8. Bioenergetic and antioxidant properties of coenzyme Q10:recent developments.. Mol Biotochnol.2007 Sep:37(1):31-7
  9. Effect of coenzyme Q10 as an antioxidant in beta-thaiassemia/Hb E patients., Biofactors. 2005:25(1-4):255-34
  10. The emerging role of coenzyme Q-10 in aging, neurodegeneration, cardlovascular disease, cancer and diabetes melllitus., Curr Neurovasc Red 2005 Dec:2(5):447-59
  11. Decreased levels of coenzyme Q(10) in patients with bronchial asthma. Allergy. 2002 Sep:57 (9):811-4.
  12. Effect of coenzyme Q10 in patients with kidney diseases. Cas Lek Cesk. 2001 May 24:140(10):307-10
  13. Taurine and its potential therapeutic application . Postepy Hig Med Dosw. 2008 Feb 25:62:75-86
  14. Therapeutic effect of taurine in congestive heart fallure: a double-blind crossove trial., Clin Cardiol. 1985 May:8(5)276-82
  15. L-carnitine treatment for congestive heart failureexperimental and clinical study., Jpn Circ J. 1992 Jan:56(1):86-94
  16. Carnitine from Wikipedia, the free encyclopedia. www.en.wikipedia.org
  17. Antioxidant Activities of Flavonoids. Deportment of Environmental and Molecular Toxicology Oregon State University.

เรียบเรียงและจัดทำโดย Sirikul Shop

รหัสสินค้า : 41015

เลขที่จดแจ้งผลิตภัณฑ์ : 13-1-03440-1-0081

ขนาด กxยxส : 5.5×5.5×10

น้ำหนัก/กิโลกรัม : 0.05

กิฟฟารีน โค-คิวเทน แมกซ์ (30 แคปซูล)
ส่วนประกอบที่สำค้ญโดยประมาณใน 1 แคปซูล :
ทอรีน 150.00 มก. แอล-คาร์นิทีน แอล-ทาร์เทรต 146.63 มก. (ให้แอล-คาร์นิทีน 100 มก.) โคเอนไซม์ คิวเทน 30.00 มก. ซิตรัส ไบโอฟลาโวนอยด์ 30.00 มก.
วิธีใช้  วันละ 1 แคปซูล พร้อมอาหาร
คำเตือน : อ่านคำเตือนในฉลากก่อนบริโภค ไม่มีผลในการป้องกันหรือรักษาโรค

รีวิว

ยังไม่มีบทวิจารณ์

มาเป็นคนแรกที่วิจารณ์ “อาหารเสริม โคเอนไซม์คิวเทน ผสม แอล-คาร์นิทีน และ ซิตรัสไบโอฟลาโวนอยด์ ชนิดแคปซูล กิฟฟารีน โค-คิวเทน แมกซ์ (30 แคปซูล)”

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Shopping Cart
Scroll to Top